สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปฏิ รูปกระบวนการพั ฒนาการรู้คิ ด (Cognition) ในการพั ฒนาเด็ กให้ดี และเก่งด้วยการศึ กษา 358 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๖. พัฒนาองค์รวมระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) อย่างจริงจังเพื่อการพัฒนาเด็ก ๗. ยกสถานภาพ “ครู” ในสังคม ดังที่กล่าวในเบื้องต้นว่าปัจจุบันนี้ปัญหาบุคลากรทางการศึกษามีสูงมากทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต, ๒๕๕๗) ได้ให้คุณสมบัติของผู้สอนในพุทธวิธีว่า ๑. มีบุคลิกภาพที่ดี ตั้งแต่รูปกายภายนอก เสียง และอากัปกิริยา การแต่งกายต้องเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน น�้ ำเสียงชวนฟังและชัดเจน ค� ำพูดต้องสุภาพสละสลวย เนื้อความต้องให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัด แจ้ง มีอากัปกิริยามารยาทที่มีความน่าประทับใจผู้เรียน ๒. มีคุณธรรม ตามแนวพระคุณ ๓ คือ ๒.๑ พระปัญญาคุณ เกี่ยวกับงานสอน ต้องมีเชาวน์ปัญญา ศึกษาค้นคว้า ใฝ่รู้ ประกอบด้วย ๒.๑.๑ ทศพลญาณ คือ ญาณที่ท� ำให้มีความรู้ความเข้าใจขอบเขตกฎเกณฑ์ รู้ขีดความสามารถของผู้เรียน ทศพลญาณประกอบด้วย ญาณ ๑๐ ประการ คือ ๑. ฐานาฐานญาณ คือ ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา หลักการ และกฎเกณฑ์ที่จะน� ำมาใช้ในการสอน ๒. กรรมวิปากญาณ คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและ กระบวนการพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างดี ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ คือ รู้วิธีการและกลวิธีที่น� ำสู่วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายของการศึกษาชาติ ๔. นานาธาตุญาณ คือ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์พฤติกรรม และจิตวิทยาที่น� ำมาใช้ ในกระบวนการ การเรียนรู้ของมนุษย์ มีเจตคติที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนยิ่งขึ้น ๕. นานาธิมุตติกญาณ คือ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลในความสนใจ และความถนัด ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ คือ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้าน สติปัญญาและความพร้อมที่จะเรียนรู้ ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ คือ รู้ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคถ่วงหรือ ปัจจัยที่ส่งเสริมเพิ่มพูนผลส� ำเร็จของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=