สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
357 พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ มีโอกาสได้รับการศึกษา มีคุณภาพเท่าเทียมกัน นอกเหนือจาก ว่าจะต้องท� ำอะไรแล้วยังต้องวางแผนให้เห็นว่าท� ำอย่างไรด้วย ๓. กล้าลงมือท� ำ (Dare) มีพลังที่จะลงมือท� ำ การเปลี่ยนแปลงต้องมีเสียงขัดแย้ ง แต่ผู้ด� ำเนินการต้องมีพลังใจที่เข้มแข็งที่จะลงมือท� ำถ้าเชื่อ แน่ว่าการท� ำนี้ เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม ผลประโยชน์ ของชาติ ๔. ลงมือท� ำ (Do) การคิดฝันจะไม่เกิดประโยชน์ถ้าไม่ลงมือท� ำทันที อาจพูดดี มีความคิดบุกเบิก แต่ถ้าไม่ลงมือท� ำก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ในการปฏิรูปทางการศึกษาสิ่งแรกที่ต้องท� ำคือ การสร้างครูที่มีคุณธรรมและความรู้เพื่อเป็น ต้นแบบให้แก่เยาวชน สถาบันสร้างครูต้องค� ำนึงในสิ่งนี้ตั้งแต่การคัดเลือกบุคคลที่จะเป็นครู ปฏิรูป กระบวนการสร้างครูอย่างเป็นรูปธรรม ครูต้องเป็นบุคคลที่มีศักยภาพที่พัฒนาได้ทั้งทางเชาวน์ปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และคุณธรรม จริยธรรม กระบวนการสร้างการรู้คิดในการพัฒนาเด็กให้ดีและเก่งนอกจากระบบการศึกษาแล้ว โดยสรุป สถาบันต่าง ๆ ได้แก่ รัฐบาล สื่อสารมวลชน และสังคม ควรก� ำหนดหน้าที่ดังนี้ ๑. รัฐบาลต้องมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาคุณภาพ “คน” มิใช่แค่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็น ทรัพยากรส� ำหรับอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่การพัฒนาคนต้องมุ่งประโยชน์ชาติโดยรวม ๒. สื่อสารมวลชน ต้องรับผิดชอบต่อการน� ำเสนอข่าวอย่างมีคุณธรรมและชัดเจนส� ำหรับ เยาวชน เช่น ค่านิยม “โกงไม่ผิด” ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ๓. สังคมต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อเด็กและเยาวชน เช่น เน้นสิทธิเด็กในเรื่องต่าง ๆ ต้องเห็นเด็กและเยาวชนเป็น “บุคคล” มิใช่สมบัติของใคร แม้นแต่พ่อแม่ ๔. สถาบันศาสนา ต้องมีความชัดเจนในหลักคุณธรรมในศาสนา ต้องใกล้ชิดเด็กและเยาวชน ต้องมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับบ้านและโรงเรียน ที่ส� ำคัญที่สุดรัฐบาลต้องก� ำหนดหน้าที่ของสถานศึกษาในการพัฒนาคนให้ชัดเจน ดังนี้ ๑. ส่งเสริมประชากรให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยี ๒. สร้างความเสมอภาคในการให้โอกาสทางการศึกษา ๓. เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นคุณภาพคน ๔. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้อยู่ระดับเดียวกันทุกท้องถิ่น ๕. พัฒนาคุณภาพและคุณธรรมครูในสถาบันสร้างครูอย่างเป็นรูปธรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=