สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปฏิ รูปกระบวนการพั ฒนาการรู้คิ ด (Cognition) ในการพั ฒนาเด็ กให้ดี และเก่งด้วยการศึ กษา 356 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๑๕. การประเมินเพื่อความก้าวหน้าต้องสอดคล้องกับผลการพัฒนาผู้เรียน ทั้งความรู้ คุณลักษณะ และทักษะชีวิต ๑๖. เร่งรัดแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑๗. น� ำเด็กนักเรียนและครูออกนอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต สิ่งส� ำคัญในระดับทั่วไปคือ ต้องดูแลการศึกษาทุกระดับให้เอื้อและสอดคล้องกันไม่แยก เป็นแท่ง ๆ แม้ต่างส� ำนักกัน การพัฒนาคนต้องสนับสนุนและตอบสนองซึ่งกันและกันในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ การปรับปรุงหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์ไปจนถึงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา นโยบายของแต่ละภาคส่วน ของการศึกษาต้องสอดคล้องกันและต้องสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาหลักของประเทศ ไม่ซ�้ ำซ้อนหรือ แตกต่างกัน โดยทุกภาคส่วนต้องค� ำนึงถึงการพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพนั้นคือมุ่งพัฒนาไปสู่ การเป็นคนดีและเก่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๙) พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ได้ ให้แนวทางการท� ำงานของบุคลากรไว้ ๓ ลักษณะ เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาข้างต้นทั้งหมด ได้แก่ ๑. ท� ำงานแบบตีโจทย์ให้แตก (Hit the Point) กล่าวคือ งานทุกงานต้องพิจารณาปัญหาให้ ถ่องแท้ ตลอดจนหากิจเฉพาะและกิจแฝงให้เจอ เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ๒. ท� ำงานแบบพลวัต (Dynamic) หมายถึง การขับเคลื่อนงานตลอดเวลา หยุดไม่ได้ เมื่อ มีการสั่งงานไปแล้ว จะไม่หยุดนิ่งอย่างแน่นอน จะขับเคลื่อนงาน ดูแล และช่วยแก้ปัญหา หากงานนั้น จะต้องข้ามแท่งทางการศึกษา ก็ต้องข้ามไม่หยุดและจะไม่มีการหยุด ๓. การท� ำงานแบบมีชีวิตจิตใจ (Lively) ซึ่งการจะท� ำงานแบบนี้ได้ ผู้ร่วมงานต้องมีความ เข้าใจเนื้องานตรงกัน สร้างให้ทุกคนเข้าใจเนื้องานที่จะท� ำ สร้างให้เห็นประโยชน์ร่วมกันกับสิ่งที่ก� ำลังท� ำ เมื่อเข้าใจตรงกันและเห็นประโยชน์ร่วมกัน ก็จะมีความสุขที่จะท� ำ เพราะใจเราจะไม่ต่อต้าน ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ก็มีความสุข และจะมีชีวิตจิตใจในการท� ำงาน (การแถลงนโยบายด้านการศึกษา, ๒๕๕๘) เมื่อรัฐก� ำหนดยุทธศาสตร์พฤติกรรมเด็กและเยาวชนแล้ว รัฐต้องก� ำหนดยุทธวิธีในการพัฒนา เด็กและเยาวชนด้วยยุทธวิธี 4D ตามแนวคิดของ สุวิทย์ เมษินทรีย์ (๒๕๔๘) โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. วาดฝัน (Dream) วางวิสัยทัศน์หรือคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนไทย ส� ำหรับอนาคต อาจเป็นทศวรรษหน้า ปี ๒๕๗๐ ๒. วาดแผน (Desire) สร้างกลวิธีและกระบวนการให้ชัดเจนโดยเฉพาะระบบการศึกษา ของชาติว่า เป็นการศึกษาภาคบังคับกี่ปี ท� ำอย่างไรให้โรงเรียน ทุกแห่งมีคุณภาพในมาตรฐานเดียวกันเด็กทุกท้องถิ่นสามารถ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=