สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
353 พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๓. ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีจิตส� ำนึกความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรียนรู้และภูมิใจ ในประวัติศาสตร์ ส� ำนึกในการตอบแทนคุณแผ่นดิน ๔. ให้ฝ่ายความมั่นคงให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความมีระเบียบวินัย ให้ความเข้มแข็งทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เพื่อเป็นพลังอ� ำนาจของชาติในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นโยบายทั้งหมดนี้คือ พันธกิจที่รัฐจะต้องท� ำด้านการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางไปสู่วิสัยทัศน์ ในการปฏิรูปประเทศไทยที่ว่า “สังคมไทยเป็นสังคมสงบสุข สมานฉันท์ ปราศจากการใช้ความรุนแรงใน การแก้ปัญหา มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อ เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคมให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนการเสริมสร้าง ศักยภาพในการแข่งขัน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล” ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรู้คุณค่าและเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกัน ยก ระดับคุณภาพชีวิต ปรับปรุงระบบการศึกษา เสริมสร้างอัตลักษณ์ของความเป็นไทยให้ชัดเจน ส่งเสริมการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมกันนั้นเสริมสร้างการวิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตอบสนองความต้องการทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงรุก และเสริมสร้างศักยภาพทุกด้าน รองรับการเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนและสังคมโลก ส่วนกลยุทธ์ที่จะท� ำให้พันธกิจบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องกลับไปพิจารณาในระบบการศึกษา ทุกขั้นตอน สิ่งส� ำคัญที่สุดผู้ที่เข้ามารับผิดชอบด้านจัดการศึกษาของชาติต้องมีหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ๖ ประการ ดังนี้ ๑. หลักนิติธรรม คือ ปฏิบัติตามหลักกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เป็นธรรม ๒. หลักคุณธรรม คือ ยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม เช่น มีพรหมวิหาร ๔ ขยัน หมั่นเพียร เสียสละ มีระเบียบวินัย ๓. หลักความโปร่งใส คือ การท� ำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ ทุกระดับ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ทุกคนเข้าถึงได้ ๔. หลักการมีส่วนร่วม คือ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่ส� ำคัญต่อส่วนรวม ขจัดการผูกขาดโดยภาครัฐหรือภาคธุรกิจเอกชน ท� ำให้เกิดความสามัคคีและการร่วมมือกับทุกฝ่าย ๕. หลักความรับผิดชอบ คือทุกฝ่ายต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ภารกิจอย่างดียิ่ง มีความผูกพัน รับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนโดยตั้งจุดมุ่งหมายไปที่ส่วนรวม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=