สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
29 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ตรงกัน เหมือนกัน และใกล้เคียงกัน เทียบได้กับสิ่งทั่วไปในโลกและจักรวาล ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต กับ อีกภาวะหนึ่ง ของมนุษย์ คือ ภาวะทางวัฒนธรรม ที่รับการพัฒนา ท� ำให้มนุษย์มีคุณสมบัติและ คุณลักษณะพิเศษต่างจากสัตว์อื่น ดังที่ ทางพุทธปรัชญา ถือว่า มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ (เวเนยฺยสตฺโต มนุสฺโส) หมายถึงสัตว์ชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้น ที่มี สภาวะ และ ศักยภาพ พิเศษตามธรรมชาติเฉพาะของมนุษย์ รอรับ การพัฒนาเสริมแต่งให้เป็น สัตว์ประเสริฐ-อารยชน เหนือสัตว์อื่น ๆ โดยผ่านกิจกรรม กระบวนการ ขั้นตอน และแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมการศึกษาเรียนรู้ ปลูกฝัง อบรมสั่งสอน ขัดเกลา ปรุงแต่ง หล่อหลอม และ น� ำพาอารยวิถีนี้ สู่การบรรลุคุณค่าแห่งความรู้ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล มนุษยธรรม คุณธรรม จริยธรรม สุนทรียธรรม และ คุณประโยชน์ ระดับต่าง ๆ ที่พึงประสบได้ในปัจจุบัน ในอนาคต และสูงสุดคือ ความสิ้นทุกข์ ขอย�้ ำอีกครั้งหนึ่ง วัฒนธรรมที่ก� ำหนด สร้างสรรค์ และปรุงแต่งขึ้นโดยมนุษย์แท้ ๆ ก็เพื่อให้ เป็น อารยวิถี เป็นเบ้าหล่อหลอม ปลูกฝัง พัฒนา และน� ำพาชีวิตมนุษย์ทั้งทางกายภาพและจิตภาพ-ความ รู้สึกนึกคิดจิตใจ ความคิดเห็น ความเชื่อ สติปัญญา คุณค่า ค่านิยม ของมนุษย์ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ในแนวปรัชญาวัฒนธรรมนั้น ๆ ปรัชญาวัฒนธรรมหาได้หมายเอาเฉพาะ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี พิธีกรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และสุนทรียกรรมลักษณะต่าง ๆ มีปรากฏหลากหลายในครอบครัว ชุมชน และสังคมมนุษย์ เท่าที่สัมผัสได้เท่านั้นไม่ หากแต่เนื้อแท้ของปรัชญาวัฒนธรรมนั้น หมายถึง องค์ความรู้สึกนึกคิดจิตใจ เป็นต้นดังกล่าวมาแล้ว และที่ยิ่งกว่านี้คือ ระบบ คุณค่า-ค่านิยม แนวปรัชญา สาขาหนึ่งโดยตรงคือ คุณวิทยาหรืออัคฆวิทยา โยงถึงปรัชญาสาขาอื่นอีกดังกล่าวมาแล้ว เป็นระบบคุณค่า ที่ก� ำหนดกรอบ ครอบง� ำ น� ำพา ก� ำกับ ชี้น� ำ และประเมินวินิจฉัย การประกอบกรรม พฤติกรรม หรือ ความประพฤติปฏิบัติ ทางใจ วาจา และกายของมนุษย์ในเรื่องต่าง ๆ ด้านต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ส่วนบุคคล สังคม การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา การศึกษา ศิลปะ สุขภาพพลานามัย การครองชีวิต ด� ำรงและด� ำเนินชีวิตแบบ มนุษย์ในวัฒนธรรมนั้น ๆ ตามผังแสดงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับระบบคุณค่าในล� ำดับต่อไป วัฒนธรรมในมิตินี้ จึงหมายถึง วิถีชีวิต รวมถึงสิ่งเสริมสร้างและพัฒนาขึ้นในวิถีชีวิตของมนุษย์ แต่เกิดจนตาย มิใช่สิ่งชั่วครั้งชั่วคราวและเลิกลาลืมเลือนกันไป แต่เป็นระบบคุณค่า-ค่านิยมก� ำหนดวิถีชีวิต ที่สร้างสรรค์ขึ้น รับช่วง สืบทอด แบบฉบับและแบบอย่างชีวิตให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ใคร ๆ จะมา ลบหลู่บังคับขู่เข็ญ ข่มขืน และข่มเหงจิตใจให้ใคร ๆ ท� ำตามไม่ได้ หากแต่เป็นระบบคุณค่าที่ได้รับการ เชิญชวน ปลูกฝัง หล่อหลอม แนะน� ำพร�่ ำสอน ฝึกอบรม ให้ซึมซับฝังลึกเข้าครองชีวิตจิตใจ จนกลาย เป็นอุปนิสัยใจคอ นิสัย สันดาน คุณลักษณะ คุณสมบัติ อัตลักษณ์ และบุคลิกลักษณะ ประจ� ำบุคคล วงศ์ตระกูล ชุมชน สังคม และเชื้อชาติเผ่าพันธุ์มนุษย์นั้น ๆ รวมทั้งชนชาติไทยด้วย โดยอนุรักษ์ไว้แต่ อดีตสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและอีกต่อไปในอนาคต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=