สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

351 พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๓. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ๔. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ๕. รักษาวัฒนธรรมและประเพณีอันงดงาม ๖. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน ๗. เข้าใจเรียนรู้การประเมินประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง ๘. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ ๙. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ท� ำ รู้ปฏิบัติตามพระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๐. รู้จักด� ำรงตนอยู่โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้ยามจ� ำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จ� ำหน่าย และพร้อมที่จะ ขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม มีภูมิคุ้มกันที่ดี ๑๑. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ� ำนาจฝ่ายต�่ ำหรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป ตามหลักศาสนา ๑๒. ค� ำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง จากการศึกษาแนวคิดและผลงานวิจัย (พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ และคณะฯ, ๒๕๔๕) อาจสรุป คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทยตามที่ผู้เขียนรวบรวมได้ตามตาราง ดังนี้ ตารางที่ ๑ : สรุปเด็กและเยาวชนมีคุณภาพดีและเก่งของสังคมไทยจากผลการวิจัย พัฒนาการด้านต่าง ๆ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๑. ร่างกายและสุขภาพ ๑. มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ๒. มีสุขภาพจิตดี ๓. มีภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ๔. มีพัฒนาการเติบโตสมบูรณ์ตามวัย ๕. ไม่ติดสารเสพติด ๒. ปัญญาเชาวน์ ๑. รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหา ๒. รู้จักคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการ ๓. ใฝ่รู้และพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง ๔. มีทักษะการสื่อสารที่ดีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ๕. รู้และใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=