สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปฏิ รูปกระบวนการพั ฒนาการรู้คิ ด (Cognition) ในการพั ฒนาเด็ กให้ดี และเก่งด้วยการศึ กษา 350 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การศึกษามีคุณภาพไม่เท่าเทียมกัน เด็กและเยาวชนจึงมีโอกาสในการแสวงหาความรู้และได้รับการศึกษา ไม่เท่ากัน ในการปฏิรูปประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อพิจารณาจากเอกสาร เจตนารมณ์ นโยบาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พบว่า คณะ คสช. มีเจตนารมณ์ที่จะยุติความขัดแย้งในชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในชาติและนานาชาติภายใต้ระบบบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยมุ่งผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เน้นการยกระดับการศึกษา สร้างมาตรฐานการด� ำรงชีวิต ของประชาชนในสังคมไทยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ก� ำหนดนโยบายบริหารราชการ ๑๔ ด้าน (เจตนารมณ์ คสช., ๒๕๕๘) และการศึกษาเป็นด้านที่ส� ำคัญที่ต้องการการพัฒนาโดยเร็ว ตรงตามนโยบาย คสช. ในข้อที่ ๗ เกี่ยวกับการศึกษาได้แก่ (๗) ด้านการศึกษา ต้องส่งเสริมการศึกษาในทุกช่วงวัย บูรณาการการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้อง พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ใช้เทคโนโลยีน� ำการศึกษาสู่ความทันสมัยโดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างจิตส� ำนึกเยาวชนไทยให้รักความเป็นไทย ภูมิใจในประวัติศาสตร์ของประเทศ เทิดทูนสถาบันพระมหา กษัตริย์ ปลูกจิตส� ำนึกในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนา ประชาชนให้มีระเบียบวินัย เข้มแข็ง มีความแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ พร้อมทั้งพัฒนาภูมิคุ้มกันให้ เยาวชนเพื่อเป็นพลังอ� ำนาจของชาติในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เจตนารมณ์การปฏิรูปนั้นสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) มีวิสัยทัศน์ว่า “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” โดยระบุพันธกิจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพคนไว้ดังนี้ พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการด� ำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ กล่าวถึงการพัฒนาคนไทย คือ การให้ คนไทยได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีความ เข้มแข็ง แต่ตัวชี้วัดกลับเป็นจ� ำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของคนไทย เพิ่มสัดส่วนประชากรที่เข้าใจโครง ข่ายคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่มิได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาเชาวน์ปัญญา หรือสุขภาวะทาง กาย อารมณ์ และพฤติกรรมสังคมของเด็กและเยาวชนไทยอย่างชัดเจน นอกเหนือจากนโยบาย คสช. และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ แล้ว รัฐบาลปัจจุบันยังเน้นการพัฒนาค่านิยม ๑๒ ข้อ (เจตนารมณ์ คสช., ๒๕๕๘) ได้แก่ ๑. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=