สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

349 พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ “การที่มีความคิดจิตใจอันกระจ่างแจ่มแจ้งและหนักแน่นอยู่เสมอ จัดเป็นคุณธรรมส� ำคัญ ประการหนึ่งของแต่ละบุคคล เป็นเครื่องน� ำบุคคลไปให้ประสบความเจริญสวัสดี” (๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๓) ท่านพุทธทาส (๒๕๑๑) ได้ให้ความหมายลักษณะเยาวชนที่พึงปรารถนาว่า ต้องเป็นเยาวชนที่ สามารถสร้างสังคมใหม่ที่คิดดีกว่าเก่าหรือสร้างโลกใหม่ที่แปลกออกไปในลักษณะที่พึงปรารถนา นอกจากนี้ ท่านพุทธทาสยังก� ำหนดว่า บุคคลทั่วไปรวมถึงเด็กและเยาวชนจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขถ้ามีคุณลักษณะ ๒ ประการ คือ ๑. ท� ำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด รู้ว่าตนมีหน้าที่อะไรบ้าง และท� ำหน้าที่ให้ดีที่สุด ๒. รักเพื่อนบ้าน คือ มีจิตเมตตาปรารถนาดีกับทุกคนที่อยู่กับเราไม่ว่าจะเป็นบุคคลในบ้าน บุคคลในที่ท� ำงาน หรือบุคคลในสังคม นอกจากนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต, ๒๕๕๗) ได้กล่าวถึงเด็กที่ดีและเก่งว่าอย่าง น้อยต้องมีลักษณะ ๔ ข้อ คือ ๑. เข้าถึงธรรมชาติ หมายถึง การรู้จักปฏิบัติต่อวัตถุสร้างสรรค์ของมนุษย์ตลอดจนเทคโนโลยี ในแง่ที่โยงกับธรรมชาติ ให้ส� ำนึกตระหนักถึงกัน ให้เกื้อกูลหนุนกัน ๒. ไม่ขาดไมตรี หมายถึง อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีทั้งสิ่งแวดล้อมด้านเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ด้านธรรมชาติ รวมถึงโลกแห่งวัตถุทั้งหมด ๓. มีจิตตั้งมั่น หมายถึง มีจิตเข้มแข็ง มีพื้นฐานจิตใจที่มุ่งมั่นจะพัฒนาชีวิตตนให้เจริญงอกงาม เต็มศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ๔. ใช้ปัญญาพาชีวิตถึงจุดมุ่งหมาย คือ มีปัญญาที่สามารถแก้ปัญหาได้ น� ำพาชีวิตไปให้ถึง จุดมุ่งหมาย คุณสมบัติ ๓ ข้อนี้เบื้องต้นนั้นจะสัมฤทธิ์ได้ก็ด้วยมีปัญญาเป็นหลักประกัน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต, ๒๕๕๗) ให้ความเห็นว่า ในสังคมไทยปัจจุบันไม่มี วัฒนธรรมทางปัญญาในค� ำสอนของพระพุทธศาสนาซึ่งเริ่มตั้งแต่ขาดความใฝ่แสวงปัญญา ไม่มีความ ใฝ่รู้และการค้นคว้าหาความรู้ เด็กไทยปัจจุบันขาดแคลนวัฒนธรรมทางจิตใจ ความมีน�้ ำใจในสังคม ไทยค่อย ๆ เสื่อมหายไปในสังคมปัจจุบันมีแต่วัฒนธรรมการเสพบริโภคเพลินรับแต่วัฒนธรรมตะวันตก เพื่อการเสพบริโภคแต่ไม่รับวัฒนธรรมทางปัญญาของตะวันตกมาด้วย จึงไม่มีความคิดอย่างคนตะวันตก เพียงแต่เสพบริโภคสิ่งฟุ่มเฟือยจากตะวันตกเท่านั้น การพัฒนาเด็กและเยาวชน แม้เริ่มจากครอบครัวแต่ครอบครัวปัจจุบันอยู่ในภาวะล่มสลาย มีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น เวลาที่ให้ในการพัฒนาลูก จึงน้อยลง สาระหลักในการพัฒนาเด็กให้เก่งและดีจึงตกอยู่กับสถาบันการศึกษาเป็นส� ำคัญ แต่สถาบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=