สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปฏิ รูปกระบวนการพั ฒนาการรู้คิ ด (Cognition) ในการพั ฒนาเด็ กให้ดี และเก่งด้วยการศึ กษา 348 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 กระบวนการพัฒนาคนถ่ายทอดโดยกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization process) ซึ่งหมายถึงรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจากครอบครัว ระบบการศึกษา และนอกเหนือจากนี้ เด็กยังจะได้รับอิทธิพลจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ระบบสารสนเทศ และระบบการเมือง ความด้อยประสิทธิภาพ ของสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งระบบการศึกษาจึงเป็นปัจจัยหลักของอุปสรรคในการพัฒนาประชากรของชาติ เด็กที่ดีและเก่งของสังคมไทยควรมีลักษณะเช่นไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกล่าวถึงคุณลักษณะ ที่ดีของทรัพยากรมนุษย์ด้านคุณสมบัติเชิงพุทธธรรม ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ไว้ ๑๐ ประการ ดังนี้ ๑. มีฉันทะและวิริยะ ๒. มีความอดทนอดกลั้นและจิตใจเข้มแข็ง ๓. มีความตั้งใจจริงและจริงใจ ๔. ด� ำรงความถูกต้องและยุติธรรม ๕. มีความเมตตาและเสียสละ ๖. มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ๗. มีความสุจริต ๘. มีความกตัญญู ๙. มีวินัยในการด� ำเนินชีวิต ๑๐. มีความพยายามและกล้าเผชิญทุกสิ่ง พระราชด� ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของเด็กและเยาวชน ที่ดีและเก่งนั้น ทรงมุ่งย�้ ำ ๓ ประเด็น คือ ๑. บุคคลจักต้องรู้จักหน้าที่ของตนเอง ๒. บุคคลจักต้องมีแผนการท� ำงานที่ยังความสัมฤทธิผลแก่งานที่ท� ำ ๓. บุคคลจักต้องมีคุณธรรมประจ� ำตัว (ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์, ๒๕๓๑) พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรายละเอียดไว้ในพระราชด� ำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่กลุ่ม บุคคลต่าง ๆ ดังผู้เขียนจะยกไว้พอสมควร ดังนี้ “ถ้าคนเรามีความยุติธรรมในใจและสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวม และประโยชน์แก่ตนเองเพราะว่าความยุติธรรมนี้คือ มีความคิดที่มีเหตุผล” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๖) “ความจริงใจต่อฐานะหน้าที่ของตนเอง ไม่หลอกลวงตนเอง ไม่หลอกลวงกันและกัน มูลเหตุ ส� ำคัญของความผิดพลาดล้มเหลวของภาระการทั้งปวง ความจริงใจท� ำให้บุคคลเข้าถึงกัน เข้าถึงงาน เข้าถึงเป้าประสงค์ได้โดยตรงและช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ความดีความเจริญได้โดยอิสระ คล่องตัวและ มีประสิทธิภาพ” (๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๖)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=