สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาการรู้คิด (Cognition) ในการพัฒนาเด็กให้ดีและเก่งด้วยการศึกษา พรรณทิพย์ (เภกะนันทน์) ศิริวรรณบุศย์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ประเทศไทยประสบปัญหานานัปการทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และปัญหา สังคม เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบัน แนวทางที่ดีที่สุดที่จะแก้ปัญหาวิกฤตที่ก� ำลังเผชิญ ในปัจจุบันคือ การเร่งพัฒนาคนโดยเฉพาะด้านการพัฒนาเชาวน์ปัญญาและคุณธรรม จริยธรรม เช่น เดียวกับการปฏิรูปประเทศหรือการปฏิรูประบบการเมืองการปกครองจะส� ำเร็จได้ต้องเกิดจากการพัฒนา ทรัพยากรพื้นฐานคือ ประชากรที่ดีและเก่งของประเทศโดยการพัฒนาความรับผิดชอบทางจริยธรรม ค่านิยม และศีลธรรม ควบคู่ไปกับเชาวน์ปัญญา ผลการวิจัยระบุชัดเจนว่าระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ คือ ค� ำตอบว่าประชากรไทยในอนาคตจะพัฒนาอย่างมีคุณภาพหรือด้วยคุณภาพ ระบบการศึกษาของไทย ต้องน้อมน� ำพระราชด� ำริจากกระแสพระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นวิธีการจัดการศึกษา พระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเน้น ถึงความส� ำคัญของครูในกิจกรรมทางการศึกษา การสอนเด็กด้วยความรักและความเข้าใจ อบรมเด็กทั้ง ด้านปัญญา จิตใจและคุณธรรม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะน� ำไปปฏิบัติต่อผู้อื่น และทรงเน้นให้ครูสอนเด็ก นอกห้องเรียนมากกว่าสอนในชั้นเรียนแบบทางการ ถ้าเราไม่สามารถปฏิรูปเด็กและเยาวชนของประเทศได้ เราก็จะไม่สามารถปฏิรูปประเทศไทย ได้เลย ค� ำส� ำคัญ : การพัฒนาการรู้คิด, พัฒนาการเด็ก, การศึกษา ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหานานัปการ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การปกครอง เมื่อวิเคราะห์ถึงรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นจะพบว่า สาเหตุส� ำคัญคือ ประชากรส่วนใหญ่ ยังไม่มีคุณภาพที่เหมาะสม และไม่เอื้อต่อการปฏิรูปประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของสถาบันหลักในการพัฒนาคน ตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา รวมไปถึง สถาบันอื่น ๆ ในสังคม เช่น สถาบันทางการเมือง สถาบันสื่อมวลชน สถาบันทางศาสนา ผลการวิจัย ส่วนใหญ่พบว่า สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันหลักถัดจากครอบครัวในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=