สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปรั ชญาวั ฒนธรรม 28 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ความน� ำ ชนชาติใด ซุกซนทางความคิด ขยันคิด คิดไม่มีอิ่ม คิดได้ก่อน กว้างไกล ลึกซึ้ง สูงส่ง มีเหตุผล ฉลาดปราดเปรื่อง มีคนนิยมเชื่อถือกว่า ชนชาติ นั้นก็จะได้ครองพลังสูงสุด คือ ปรัชญา ที่เหนือกว่าและเป็นฝ่ายน� ำ ชนชาติอื่น ให้ต้องกลายเป็นอาณานิคมทางความคิด ความเชื่อ คุณค่า ค่านิยมและอื่น ๆ ตามมา ภายใต้พลังอ� ำนาจชี้น� ำสูงสุด คือ ปรัชญา ดังปรากฏความจริงในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่อดีตจนปัจจุบัน และสู่อนาคต.... มนุษย์เป็นสัตว์วัฒนธรรม เกิดมามีชีวิต ครองชีวิต ด� ำรง และด� ำเนินวิถีชีวิต จนสิ้นสุดชีวิต เป็นมนุษย์ในวัฒนธรรม แม้ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกันแท้ ๆ กับสรรพสิ่งมีชีวิตอื่น ที่มนุษย์จะเกิดมามี ชีวิตเป็นอยู่มีอยู่อย่างมนุษย์นอกวัฒนธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้ และที่มนุษย์จะมีชีวิตเป็นแบบมนุษย์ขึ้นมา ได้นั้น ก็ด้วยมีวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตเสริมธรรมชาติ ถ้าไม่มีวัฒนธรรมก็ไม่ใช่มนุษย์ เป็นได้แต่เพียงระดับ สัตว์ชนิดหนึ่ง ที่คงชีวิตอยู่เยี่ยงสัตว์อื่นตามธรรมชาติล้วน ๆ และอย่างสิ่งธรรมชาติอื่น ๆ ในกฎธรรมชาติ เดียวกัน สืบสายพันธุ์รุ่นแล้วรุ่นเล่าผ่านยุคแล้วยุคเล่า ในความเป็นมนุษย์ วัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบส� ำคัญและจ� ำเป็นยิ่ง สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น มาทั้งรูปธรรมและนามธรรม ให้เป็นแบบอย่าง ระบบ มีเนื้อหา และสิ่งมุ่งหมายระดับต่าง ๆ ด้านต่าง ๆ ในวิถีชีวิตแบบมนุษย์ มนุษย์เองอิงอาศัยปัญญาธรรมสร้างสรรค์ปรุงแต่งวัฒนธรรมให้เป็นวิถีชีวิต ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมก็หวนกลับมาเสริมสร้างมนุษย์ให้เป็นสัตว์ประเสริฐ กระนั้น ทั้งมนุษย์และ วัฒนธรรมอันเป็นผลงานแท้ ๆ ของมนุษย์ หาได้เป็นอยู่มีอยู่นอกเหนือความเป็นธรรมชาติในกฎธรรมชาติไม่ ในข้อนี้ วิชาตรรกศาสตร์และคุณวิทยา ๒ ได้แสดงเหตุผลเอาไว้ว่า ธรรมชาติ มนุษย์ และวัฒนธรรม ย่อมสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกันและกันอยู่ ไม่มีมนุษย์ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีวัฒนธรรมมีชีวิตเป็นแบบมนุษย์ ไม่ได้ ไม่มีทั้งมนุษย์และวัฒนธรรมหากไม่มีธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม แม้นไม่มีมนุษย์และวัฒนธรรม ธรรมชาติ ก็ยังมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น หาได้ขึ้นอยู่กับมนุษย์และวัฒนธรรมแต่ประการใดไม่ ปรัชญาวัฒนธรรมแสดงให้เห็นเนื้อหาตามนัย คุณวิทยา หรือ อัคฆวิทยา (Axiology) สัมพันธ์ กับ ภววิทยา (Ontology) จริยศาสตร์ (Ethics) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และ ญาณวิทยา (Epistemology) ในความเป็นมนุษย์ ชีวิตมนุษย์จึงมี ๒ มิติ หรือ ทวิภพ กล่าวคือ ภาวะทางธรรมชาติ ๒ ศึกษาเพิ่มเติมใน สิทธิ์ บุตรอินทร์ : ตรรกศาสตร์ บทที่ ๖
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=