สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้ นโลกที่ น่ารู้ 342 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ภาคพื้นทวีปทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก) สภาพการณ์ดังกล่าวท� ำให้มีฝนตกชุกมากขึ้น ทางชายฝั่งแปซิฟิกตะวันออกซึ่งอยู่ในเขตทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย บริเวณฝั่งตะวันตกของมหาสมุทร แปซิฟิกในทวีปออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเคยมีความชุ่มชื้นจากปริมาณ น�้ ำฝนที่ได้รับในภาวะปรกติ กลับต้องประสบกับความแห้งแล้ง (ไฟป่าในออสเตรเลียและอินโดนีเซียช่วงที่ เกิดเอลนิญโญจะลุกลามเป็นบริเวณกว้างและดับได้ยาก แม้ประเทศไทยจะไม่มีปรากฏการณ์เช่นนี้ แต่ก็ได้ รับผลกระทบจากหมอกควันของไฟป่าดังกล่าวที่พัดเข้าสู่ภาคใต้บ่อยครั้ง) ลานิญญาเป็นปรากฏการณ์ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับเอลนิญโญ กล่าวคือ กระแสน�้ ำเย็น จากขั้วโลกใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสน�้ ำเย็นเปรูหรือกระแสน�้ ำเย็นฮัมโบลดต์ (Humboldt Current) มีความเข้มข้นและยกตัวสูงขึ้นมาบริเวณใกล้ผิวน�้ ำ (upwelling) อุณหภูมิของอากาศเหนือมหาสมุทร แปซิฟิกตะวันออกจะลดต�่ ำลงกว่าปรกติ เมื่อผนวกเข้ากับอิทธิพลของลมสินค้าตะวันออกท� ำให้เกิดการ เคลื่อนตัวของมวลอากาศเย็นไปทางตะวันตกตามแนวศูนย์สูตร ปรากฏการณ์เช่นนี้ส่งผลให้เกิดฝนตก เป็นปริมาณมากกว่าปรกติบริเวณภาคพื้นทวีปของออสเตรเลียและกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ดูรูปที่ ๗ ประกอบ) รูปที่ ๗ ปรากฏการณ์เอลนิญโญ (El Nino) และลานิญญา (La Nina) ที่มา : www.google.co.th
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=