สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
339 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ กรณีของการเกิดฟ้าร้องและฟ้าผ่าควบคู่กันไปกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองก็เป็นปรากฏการณ์ ทางกายภาพของบรรยากาศ ฝนที่เย็นและจับตัวกันเป็นก้อนน�้ ำแข็งแล้วถูกพัดตลบขึ้นไปจะเคลื่อนที่และ เสียดสีกันจนเกิดเป็นประจุไฟฟ้า (electric charge) ประจุบวก (proton) จะก่อตัวบนส่วนยอดของเมฆ และบนพื้นดิน ในขณะที่ประจุลบ (electron) ก่อตัวอยู่บริเวณส่วนล่างของเมฆ การเคลื่อนที่ของกระแส ไฟฟ้าต่างประจุกลายเป็นสายฟ้าที่รู้จักและเรียกกันว่า “ฟ้าแลบ” การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าที่แหวกไป ในอากาศอย่างรวดเร็วนี้ท� ำให้เกิดเป็นช่อง (channel) เมื่อสายฟ้าผ่านพ้นไป อากาศจะเคลื่อนกลับเข้าหากัน อย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นคลื่นเสียงที่รู้และเรียกกันว่า “ฟ้าร้อง” กรณีของ “ฟ้าผ่า”เป็นปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ที่การเคลื่อนที่ของสายฟ้าจากก้อนเมฆ (ประจุลบ) สู่ภาคพื้นดิน (ประจุบวก) แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง และ/หรือความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืช ๔. การเรียกชื่อพายุหมุนในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก : เดิมทีการก� ำหนดหรือตั้งชื่อ พายุกระท� ำโดยกรมอุตุนิยมวิทยาของสหรัฐอเมริกา เนื่องด้วยเป็นองค์กรที่มีองค์ความรู้ด้านพายุเป็น การเฉพาะและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดตามและตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุหมุนเขตร้อน ที่ น่าสังเกตคือ การตั้งชื่อพายุเท่าที่ผ่านมาจะก� ำหนดชื่อเป็นภาษาอังกฤษและเป็นชื่อของสตรีเพื่อให้ดูอ่อนโยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐) ได้มีการตกลงให้ตั้งชื่อพายุเรียงตามล� ำดับตัวอักษร A - Z และ ให้ตั้งชื่อได้ทั้งที่เป็นชื่อของบุรุษและสตรี จวบจน พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐) คณะกรรมการพายุไต้ฝุ่น ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO Typhoon Committee) ได้ตกลงให้มีการจัดระบบการตั้งชื่อพายุ หมุนเขตร้อนกันใหม่ หลักการที่ส� ำคัญคือ ให้กลุ่มประเทศที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อน รวมกลุ่มกันในการตั้งชื่อ ทั้งนี้ ชื่อพายุต้องก� ำหนดเป็นชื่อท้องถิ่นของแต่ละประเทศ ประเทศไทยรวมกับประเทศอื่นอีก ๑๓ ประเทศได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มพายุที่เกิดขึ้นใน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก คณะกรรมการไต้ฝุ่นฯ ตกลงให้แต่ละประเทศในกลุ่มตั้งชื่อพายุเป็นภาษาถิ่น ของตนประเทศละ ๑๐ ชื่อ รวมทั้งสิ้น ๑๔๐ ชื่อ โดยแบ่งเป็น ๕ ชุด ชุดละ ๒๘ ชื่อ (ดังแสดงในตาราง ข้างล่างนี้) การตั้งชื่อพายุที่เกิดขึ้นจริงให้เริ่มใช้ตั้งแต่ชื่อแรกของชุดที่ ๑ (ดอมเรย) ไปจนครบ (จ่ามี) แล้ว เริ่มต้นชื่อแรกของชุดที่ ๒ (กองเรย) เรียงไปเรื่อย ๆ เมื่อครบชื่อที่ ๑๔๐ (ซาวลา) แล้วให้กลับมาเริ่มต้นที่ ชื่อแรกของตาราง (ดอมเรย) ใหม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=