สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้ นโลกที่ น่ารู้ 336 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 กายภาพของลมที่น่ารู้ มีประเด็นทางกายภาพที่น่ารู้เกี่ยวกับลมอยู่ค่อนข้างหลากหลาย ณ ที่นี้จะขอน� ำเสนอเฉพาะ บางประเด็นที่น่าจะต้องรู้จริง ๆ เพราะอย่างน้อยที่สุดเมื่อรู้หรือเข้าใจแล้วจะได้น� ำไปประยุกต์ให้เกิด ประโยชน์ ดังนี้ ๑. ความกดอากาศ ๒ แต่ละอณูของก๊าซแทบจะกล่าวได้ว่าไม่สามารถวัดและก� ำหนดค่าน�้ ำ หนักได้ เมื่อใดก็ตามที่มีการรวมตัวและอัดแน่นเข้าด้วยกันของแต่ละอณูจนกลายเป็นมวลของอากาศ เมื่อนั้นจะเกิดน�้ ำหนักซึ่งอยู่ในลักษณะของแรงกดทับโดยเฉลี่ย ๑.๐๓๔ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (๑๔.๗ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) บนพื้นผิวโลก ท� ำไมเราจึงไม่รู้สึกว่าทุกขณะที่เราอยู่บนพื้นโลก มวลอากาศหนัก เป็นพันกิโลกรัมกดทับตัวเราอยู่ตลอดเวลา ด้วยขนาดของแรงกดทับดังกล่าว ร่างกายของเราน่าจะ แตกสลายเสียด้วยซ�้ ำไป อย่างไรก็ตาม เหตุที่ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะในร่างกายของเรามีทั้งน�้ ำและอากาศ เป็นองค์ประกอบอยู่ในเลือด ในเนื้อเยื่อ และในเซลล์ซึ่งสามารถสร้างแรงกดดันภายในให้สมดุลกับแรง กดดันของอากาศภายนอก เราจะสามารถสัมผัสหรือรับรู้ในพลังของความกดดันอากาศได้จากอาการ หูอื้อเมื่อต้องเคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่มีระดับความสูง-ต�่ ำต่างกันมาก เช่น การลดระดับเพดานบินของ เครื่องบิน หรือด� ำน�้ ำลงไปลึก ๆ (ก) (ข) รูปที่ ๔ พายุไต้ฝุ่นในทะเลจีนใต้ (ก) และพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา (ข) ที่มา : www.google.co.th ๒ ศิษย์เอกของกาลิเลโอ (Galileo) คือ อีวันเจลิสตา ตอร์รีเซลลี (Evangelista Torricelli) ได้ท� ำการทดลองสร้างเครื่องมือวัดความกดอากาศ ขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๖๔๓ เรียกว่า “mercury barometer” และพบว่าความกดอากาศมาตรฐาน ณ ระดับทะเลปานกลาง ๑๐๑๓.๒ มิลลิบาร์ ส่งผลให้ปรอทในหลอดแก้วสูงขึ้น ๗๖ เซนติเมตร (๒๙.๙๒ นิ้ว) (Gabler, et al., 2004)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=