สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
335 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ชื่อเรียก ลักษณะ/ความเร็วลม - ลมแปรปรวนในเขตร้อน (tropical disturbance) - พายุดีเปรสชัน (depression) - ไต้ฝุ่น (typhoon) บริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกชายฝั่ง - ไซโคลน (cyclone) บริเวณมหาสมุทร อินเดีย - บาเกียว (baguios) บริเวณประเทศ ฟิลิปปินส์ - เฮอร์ริเคน (hurricane) บริเวณ มหาสมุทรแอตแลนติก และชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก - แปรปรวน ความเร็วลมไม่เกิน ๖๓ กม./ชม. ( < 30 knots) - ความเร็วลม ๖๓ – ๑๑๗.๕ กม./ชม. (30 – 64 knots) - ความเร็วลมมากกว่า ๑๑๗.๕ กม./ชม. (> 65 knots) ที่มา : Christopherson, 1994 . ๕.๓ พายุทอร์นาโด คือ พายุหมุนอีกลักษณะหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพายุหมุนเขตร้อน และส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนภาคพื้นทวีปโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ก� ำเนิดของ พายุทอร์นาโดคล้ายกับการเกิดลมประเภทอื่น กล่าวคือ เกิดจากความแตกต่างของความกดของอากาศ ระหว่างพื้นที่ ที่พบว่าเกิดขึ้นบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาเพราะมีเหตุปัจจัยหลักจากความแตกต่าง ของมวลอากาศร้อนและชื้นในอ่าวเม็กซิโกกับมวลอากาศเย็นและแห้งในแคนาดา โดยปรกติการเกิดพายุ ทอร์นาโดจะเริ่มจากการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองก่อน จากนั้นจึงขยายตัวในลักษณะของพายุหมุนเป็นแท่ง ในแนวดิ่ง พายุทอร์นาโดจะมีความเร็วของลมมากกว่า ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ความเร็วสูงสุด ของลมชนิดนี้อาจเกินกว่า ๕๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง) อ� ำนาจการท� ำลายล้างและสร้างความเสียหาย จึงมีสูงมาก พายุทอร์นาโดที่ก่อตัวบนภาคพื้นดินมีลักษณะเป็นแท่งตามแนวดิ่งคล้ายงวงช้าง (funnel cloud) บางครั้งจึงเรียกว่า “พายุงวงช้าง” เมื่อเกิดขึ้นในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีลักษณะเป็นแท่งน�้ ำ สูงขึ้นไปในอากาศและเรียกว่า “กาเล่นน�้ ำ” (water spout)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=