สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้ นโลกที่ น่ารู้ 334 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๕. ลมพายุ (storm) พายุคือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่มีความแปรปรวนและรุนแรง อันเนื่องมาจากความกดอากาศระหว่างพื้นที่ (pressure gradient) ที่มีความแตกต่างกันมาก เมื่อ มีลมเกิดขึ้นในบริเวณใดก็ตามมักพบเสมอว่ามีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนค่อนข้าง มาก ในทางอุตุนิยมวิทยา ลมพายุแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทย่อยคือ (๑) พายุฤดูร้อนหรือพายุฝนฟ้าคะนอง (thunderstorms) (๒) พายุหมุนเขตร้อน (tropical cyclones) และ (๓) พายุทอร์นาโด (tornadoes) (christopherson, 1994) ๕.๑ พายุฤดูร้อนหรือพายุฝนฟ้าคะนอง คือ ลมแปรปรวนที่เกิดขึ้นในบริเวณอากาศร้อน แถบศูนย์สูตรทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ด้วยสภาพของอากาศที่มีอุณหภูมิสูงและมีความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) ค่อนข้างสูง เมื่อลอยตัวสูงขึ้นปะทะกับความเย็นของอากาศเบื้องบนความชื้น สัมพัทธ์จะเพิ่มสูงขึ้นจนก่อตัวเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นฝนในที่สุด แทนที่จะตกลงสู่พื้นดิน ฝนจะถูกความ แปรปรวนของอากาศพัดวกและตลบกลับไปมาอยู่หลายครั้งจนท� ำให้น�้ ำฝนจับตัวเป็นก้อนน�้ ำแข็งที่เรียกว่า ลูกเห็บ (hail) ควบคู่ไปกับเหตุการณ์ดังกล่าวมักจะมีปรากฏการณ์ฟ้าแลบ (lightning) ฟ้าร้อง (thunder) และฟ้าผ่า (lightning bolt) เกิดขึ้นด้วยเสมอ ๕.๒ พายุหมุนเขตร้อน คือ ลมแปรปรวนที่มีขนาดใหญ่และมีความเร็วของลมสูง การก่อ ตัวของพายุหมุนเขตร้อนจะปรากฏบริเวณโดยรอบเส้นศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด ๒๕ องศาเหนือและใต้โดย ประมาณและมักเริ่มก่อตัวในมหาสมุทร การสะสมพลังงานความร้อนอันมหาศาลจากดวงอาทิตย์ของมวล น�้ ำในมหาสมุทรในช่วงฤดูร้อนส่งผลให้มวลอากาศเหนือผิวน�้ ำซึ่งมีปริมาณไอน�้ ำมากมีอุณหภูมิสูงลอยตัวขึ้น สู่เบื้องบน มวลอากาศเย็นกว่าโดยรอบเคลื่อนเข้าแทนที่ในลักษณะของการหมุนเข้าหาศูนย์กลางด้วยแรง คอริออลิส (Coriolis force) กลายเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ซึ่งเรียกชื่อตามความเร็วของลมและสถานที่เกิด แตกต่างกันไป ดังแสดงในตารางข้างล่างนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=