สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
333 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๓. ลมประจ� ำเวลา (Diurnal winds) คือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่เกิดจากความแตกต่าง ระหว่างความกดอากาศของสองพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลาของวัน โดยปรกติเวลากลางวันและกลางคืน พื้นผิวโลกจะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ความกดอากาศของพื้นผิวโลกระหว่างเวลา กลางวันกับเวลากลางคืนจึงไม่เท่ากัน การเคลื่อนที่ของมวลอากาศสลับกันไปมาในช่วงเวลากลางวันและ กลางคืนของอย่างน้อย ๒ บริเวณบนพื้นโลกจึงเกิดขึ้น ลมบก (Land breeze) ลมทะเล (Sea breeze) ลมภูเขา (Mountain breeze) ลมหุบเขา (Valley breeze) คือ ชนิดของลมประจ� ำเวลาที่สามารถสังเกต ได้ชัดเจนที่สุด ลมบกและลมภูเขาเป็นลมประจ� ำเวลาที่เกิดในเวลากลางคืน ส่วนลมทะเลและลมหุบเขา เป็นลมประจ� ำเวลาที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน (ดูรูปที่ ๓ ประกอบ) รูปที่ ๓ ปรากฏการณ์ลมบก (land breeze) และลมทะเล (sea breeze) ที่มา : www.google.co.th ๔. ลมประจ� ำถิ่นหรือลมท้องถิ่น (local wind) ลมประจ� ำถิ่นคือลมที่พัดอยู่ในบริเวณใด บริเวณหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในแต่ละประเทศและ/หรือในแต่ละภูมิภาคของประเทศอาจมีลมประจ� ำถิ่นที่ เรียกชื่อแตกต่างกันไป กรณีของประเทศไทย มีลมประจ� ำถิ่นที่เป็นที่รู้จักและคุ้นหูคือลมว่าวและลมตะเภา ลมว่าวเป็นลมเย็นเกิดขึ้นในช่วงต้นของฤดูหนาวโดยมีทิศทางการพัดจากทิศเหนือสู่ที่ราบลุ่มน�้ ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นลมที่พัดเบา คนสมัยก่อนจึงนิยมใช้ประโยชน์จากลมนี้ในการเล่นว่าว ความจริงชาวบ้าน ส่วนหนึ่งเรียกลมว่าวนี้ว่า “ลมข้าวเบา” เพราะเป็นลมที่พัดมาในช่วงของการเก็บเกี่ยวข้าวเบา (Dry rice) กรณีของลมตะเภาหรือบางครั้งก็เรียกว่า“ลมตะเภาในอ่าวไทย” เป็นลมที่มีต้นก� ำเนิดในอ่าวไทยแล้วพัด เข้าสู่ที่ราบภาคกลางในช่วงก่อนเข้าฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=