สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ปรัชญาวัฒนธรรม ๑ สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ปรัชญาวัฒนธรรมเป็นปรัชญาประยุกต์สาขาหนึ่ง นิยมศึกษาอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา วิชาปรัชญาทั่วโลก ทางตะวันออกมีจีนกับอินเดียเป็นบ่อเกิด และทางตะวันตกมีกรีกเป็นแหล่งก� ำเนิด นักปรัชญาทั้ง ๒ สายมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยน ปัญญาสมบัติ -ทรัพย์สินทางปัญญานี้ ถ่ายทอดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าล�้ ำเลิศนี้แก่อนุชนจนปัจจุบัน ด้วยหวังให้เพื่อนมนุษย์ข้ามพ้นคตินิยมแบ่ง แยกวิถีชีวิตเดิม ๆ ว่า ‘ตะวันตกคือตะวันตก ตะวันออกคือตะวันออก ทั้งสองหาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ไม่’ ปรัชญาวัฒนธรรมวิเคราะห์ กลั่นกรอง และประยุกต์ความจากภววิทยา ญาณวิทยา ตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ และ สุนทรียศาสตร์ มี คุณวิทยา-อัคฆวิทยา เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงปรัชญา บริสุทธิ์เหล่านั้นให้ได้ความกลมกลืนกัน ประมวลลงที่เรื่อง คุณค่าความเป็นมนุษย์ แนวมนุษยนิยมและ สัมพัทธนิยม ท� ำให้มนุษย์ได้ชื่อว่า สัตว์วัฒนธรรม ผู้อาศัย ธรรมชาติสมบัติ สร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นมา และมนุษย์ถูกก� ำหนดวิถีชีวิตโดยวัฒนธรรมนั้น ๆ อีกระดับหนึ่ง จนได้ ครองชีวิตเป็นแบบมนุษย์ ทั้งหมด ต้องอาศัยคุณค่า ปัญญาสมบัติ ของมนุษย์ผ่านวัฒนธรรมทางการศึกษา มนุษย์จึงเป็นสัตว์ชนิดเดียวครองชีวิต ๒ มิติ หรือ ทวิภพ คือชีวิตทางธรรมชาติและ ทางวัฒนธรรม ภายใต้กฎธรรมชาติ- ธรรมชาติบัญญั ติ และกฎก� ำหนดขึ้นใช้โดยมนุษย์- มนุษยบัญญัติ วัฒนธรรม อันหมายถึงสภาวะและวิถี ความเจริญรุ่งเรืองในความเป็นมนุษย์จึงประกอบด้วย วัฒนธรรม คติธรรม ที่ก� ำหนดคุณค่าแห่งองค์ความรู้ ความคิดเห็น สติปัญญา ความเชื่อ เหตุผล ความถูกต้อง ดีงาม อิสรภาพ และความสมัครใจ เหนือ อ� ำนาจนิยม และวัฒนธรรมคติธรรมนี้ คือพลังสร้างสรรค์ ปรุงแต่ง วัฒนธรรมวัตถุธรรม ด้านต่าง ๆ หลากหลายลักษณะ อาทิ ปัจจัยเครื่องยังชีพและปัจจัยเสริมชีพ นานาชนิด สนองความต้องการและความอยากอันไร้ของเขตไร้ความเพียงพอและไม่สิ้นสุด ค� ำส� ำคัญ : วัฒนธรรมคติธรรม, วัฒนธรรมวัตถุธรรม, ธรรมชาติสมบัติ, ปัญญาสมบัติ, ธรรมชาติบัญญัติ, มนุษยบัญญัติ, คุณค่า-ค่านิยม ๑ ปรับแต่งขึ้นจากบทความบรรยายในที่ประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=