สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้ นโลกที่ น่ารู้ 332 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 เดียวกันเป็นประจ� ำตลอดทั้งปี ทั้งนี้ พื้นที่ที่ลมประจ� ำพัดผ่านเป็นประจ� ำจะขยับขึ้น-ลงตามแนวละติจูด อันเนื่องมาจากต� ำแหน่งการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ลมประจ� ำที่ส� ำคัญบนพื้นโลกคือ ลมสินค้า (trade wind) ลมประจ� ำตะวันตก (prevailing westery) และลมขั้วโลก (polar easteries) ดูรูปที่ ๑ ประกอบ ๒. ลมประจ� ำฤดู (seasonal wind) คือ ลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่มีทิศทาง เปลี่ยนแปลงไปจากฤดูกาลหนึ่งไปสู่อีกฤดูกาลหนึ่ง เหตุปัจจัยส� ำคัญที่ท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทาง การเคลื่อนที่ของลมประจ� ำฤดูคือความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศเหนือภาคพื้นดินกับอุณหภูมิ ของอากาศเหนือภาคพื้นน�้ ำในแต่ละช่วงเวลาของปี ช่วงฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ อุณหภูมิของอากาศ จะลดต�่ ำลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศสูง ในขณะเดียวกันซีกโลกใต้จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวง อาทิตย์มากกว่า อุณหภูมิของอากาศจะสูงกลายเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต�่ ำ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนที่ ของมวลอากาศจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ เรียกลมประจ� ำฤดูนี้ว่า “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” (northeast monsoon) ๑ ในทางกลับกัน ช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนืออุณหภูมิของอากาศเหนือภาคพื้นดินจะสูง เกิดเป็นหย่อมความกดอากาศต�่ ำ ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศในซีกโลกใต้จะต�่ ำกว่า เกิดเป็นหย่อม ความกดอากาศสูง สภาพการณ์เช่นนี้ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนที่ของมวลอากาศจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ เรียก ลมประจ� ำฤดูนี้ว่า “ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้” (Southwest Monsoon) (ดูรูปที่ ๒ ประกอบ) รูปที่ ๒ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่มา : www.google.co.th ๑ Monsoon มาจากค� ำว่า mausim ในภาษาอาหรับแปลว่า “ฤดูกาล” นักอุตุนิยมวิทยาใช้ค� ำว่า monsoon เพื่อเป็นการอ้างอิงถึง การเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัดของลมจากทิศหนึ่งไปยังอีกทิศหนึ่งในฤดูกาลที่ต่างกัน (Gabler, et al., 2004)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=