สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

331 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ และลอยตัวสู่เบื้องบน เปิดโอกาสให้มวลอากาศที่เย็นกว่าซึ่งมีน�้ ำหนักมากกว่า [ความกดอากาศสูง (high pressure)] เคลื่อนเข้ามาแทนที่ ท� ำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า“ลม” อนึ่ง การเคลื่อนที่ของลมจาก บริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต�่ ำเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะคือ ลมที่เคลื่อนที่เข้าหากัน (convergent winds) และลมที่เคลื่อนที่ออกจากกัน (divergent winds) ดูรูปที่ ๑ ประกอบ รูปที่ ๑ ทิศทางการพัดเข้าหากัน และพัดออกจากกันของลมประจ� ำ ที่มา : www.google.co.th ประเภทของลม โดยความเป็นจริง มิได้มีกฎเกณฑ์ส� ำหรับก� ำหนดชนิดหรือประเภทของลม นักภูมิอากาศ วิทยาบางกลุ่มแบ่งประเภทของลมตามแหล่งที่เกิด ในขณะที่บางกลุ่มแบ่งตามช่วงระยะเวลาทิศทาง การพัด หรือตามความรุนแรง (intensity) ของลม อย่างไรก็ตาม ในทางภูมิศาสตร์ได้มีการแบ่งประเภท ของลมเป็น ๕ ประเภทโดยการผสมผสานลักษณะดังกล่าวข้างต้นเข้าด้วยกัน (Strahler & Strahler, 1997; Christopherson, 2004; ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์, ๒๕๕๙) แม้จะไม่มีแนวคิด หรือทฤษฎีมาสนับสนุนการแบ่งประเภทของลมดังกล่าวก็ตาม แต่ด้วยปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ที่เป็น อยู่ก็ท� ำให้ลมทั้ง ๕ ประเภทเป็นที่ยอมรับและกล่าวอ้างอิงกันมากที่สุด ในทางวิชาการลักษณะโดยสังเขป ของลมทั้ง ๕ ประเภท สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ ๑. ลมประจ� ำหรือลมประจ� ำปี (prevailing wind) คือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศจาก บริเวณหย่อมความกดอากาศสูงไปยังบริเวณหย่อมความกดอากาศต�่ ำในทิศทางและอาณาบริเวณแถบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=