สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้ นโลกที่ น่ารู้ 330 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ธรรมชาติของลมมิใช่เพียงตัวการในการรักษาหรือปรับสมดุลระหว่างความกดอากาศและ ระหว่างการกระจายที่ไม่เท่าเทียมกันของพลังงานบนพื้นผิวโลกเท่านั้น ลมยังเป็นพาหะส� ำคัญในการ พัดพาความชุ่มชื้น หรือความแห้งแล้งจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งบนพื้นผิวโลกเช่นกันที่รู้เห็น และเข้าใจได้ในเชิงประจักษ์กรณีของประเทศไทย คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (SW Monsoon) ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ในขณะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (NE Monsoon) พัดพาเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นเข้าสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศในท� ำนอง ที่ตรงข้ามกัน เมื่อกล่าวถึงก� ำเนิดของลม มีนักวิชาการและข้อเขียนของนักวิชาการจ� ำนวนหนึ่งแสดงความ คิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เหตุปัจจัยส� ำคัญที่ท� ำให้เกิดลม คือ ความแตกต่างของความกดอากาศ ระหว่างพื้นที่ (www.wikipedia.com; www.weatherwizkids.com; Gabler, 2004; และศูนย์การ เรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์, ๒๐๑๖) ความคิดเห็นดังกล่าวเป็นความคิดเห็นเชิงอนุมานหรือ การสรุปโดยรวมที่ยังขาดค� ำอธิบายที่ชัดเจน ความจริงแล้วการเกิดลมมีมิติและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง หลายอย่าง เช่น พลังสุริยะ (Solar energy) สัณฐานของโลก การวางตัวของภาคพื้นทวีปและภาคพื้น มหาสมุทร ส่วนประกอบของบรรยากาศ เมื่อพิจารณาตามหลักของความเป็นเหตุและผลแล้ว มิติหรือองค์ ประกอบเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลท� ำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศระหว่างพื้นที่ทั้งสิ้น ในขณะที่พลัง สุริยะหรือพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ท� ำหน้าที่เป็นตัวการขับเคลื่อนส� ำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกต่างใน อุณหภูมิของดิน น�้ ำ และอากาศบนพื้นผิวโลก สัณฐานในลักษณะที่เป็นทรงกลมของโลกมีส่วนท� ำให้พื้นที่ ต่าง ๆ ได้รับพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน อาณาบริเวณที่ครอบคลุมอยู่โดยรอบเส้นศูนย์สูตร จะได้รับพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้กับขั้วโลก การกระจายตัวของภาคพื้นดินและมหาสมุทรซึ่งเป็นสสารที่มีสถานะแตกต่างกัน มีส่วนอย่างมากเช่นกัน ที่ท� ำให้อุณหภูมิบนผิวโลกในที่ต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน สุดท้ายคือองค์ประกอบของบรรยากาศ ในเชิง ปริมาณและความเข้มข้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซ ฝุ่นละออง และไอน�้ ำ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกลางดูดซับพลัง ความร้อนจากดวงอาทิตย์ บรรยากาศที่มีปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบดังกล่าวมากย่อม หมายถึงการสะสมพลังงานความร้อนเอาไว้มาก ตรงข้ามกับบริเวณอื่นที่บรรยากาศมีปริมาณและความ เข้มข้นขององค์ประกอบดังกล่าวน้อยกว่า บรรยากาศซึ่งเป็นสสารที่มีสถานะเป็นก๊าซมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่า จะได้รับมาจากพลังสุริยะโดยตรง หรือจากการถ่ายเทระหว่างบรรยากาศกับภาคพื้นดินและภาคพื้น มหาสมุทร มวลอากาศที่ได้รับพลังความร้อนจะมีน�้ ำหนักเบา [ความกดอากาศต�่ ำ (low pressure)] กระจาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=