สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
329 มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ โดยธรรมชาติ ทั้ง ๓ องค์ประกอบ จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันจนท� ำให้ดูเหมือนว่ามีความเหมาะสม พอเหมาะพอดีส� ำหรับสิ่งมีชีวิตที่จะอาศัยอยู่ได้อย่างสงบสุขบนโลกใบนี้ ที่ดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นโลกอยู่ ในภาวะสมดุลและมั่นคงโดยจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกนั้น จัดว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แท้จริงแล้ว ทั้งดิน น�้ ำ อากาศ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลก ยังมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่บางครั้งเราไม่สามารถบ่งบอกความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ด้วยประสาทสัมผัส ของเรา ส่วนของพื้นดิน ยังคงมีความเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในลักษณะของปรากฏการณ์ การแตกร้าวของเปลือกโลก แผ่นดินไหว และ/หรือการระเบิดของภูเขาไฟ ในขณะที่ส่วนของภาคพื้น น�้ ำก็มีการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงในรูปของกระแสน�้ ำ และการเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งหรือ เป็นก๊าซ ส่วนของบรรยากาศซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจนกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของอีก ๒ องค์ประกอบ การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศมีผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการด� ำรงชีวิตของมนุษย์ การได้รู้และเข้าใจในธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของ บรรยากาศน่าจะมีส่วนท� ำให้เราทั้งหลายสามารถปรับตัว และ/หรือใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง นั้นแทนที่จะเป็นแต่เพียงผู้รับผลกระทบอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม มีสาระค่อนข้างมากที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ บทความนี้จึงน� ำเสนอเฉพาะในส่วนที่น่ารู้หรือควรรู้เป็นการเบื้องต้นก่อน คือเรื่องของ “ลม” ลม : ธรรมชาติและการก� ำเนิด ลม คือ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศตามแนวนอนไปบนพื้นผิวของโลก (การเคลื่อนที่ของ มวลอากาศตามแนวดิ่งเรียก “กระแสลม”) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกต่างของความกดอากาศ (air pressure) ระหว่างพื้นที่ โดยธรรมชาติ ลมคือตัวการเชิงบรรยากาศในการสร้างความสมดุลระหว่าง พื้นที่ที่มีความกดอากาศไม่เท่ากัน ยิ่งไปกว่านี้ในทางกายภาพ ลมยังมีบทบาทส� ำคัญในการปรับพลังงาน ความร้อนบนพื้นโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล โดยเฉลี่ยอาณาบริเวณบนพื้นโลกที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด (latitude) ๓๘ องศาเหนือ กับ ๓๘ องศาใต้จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าส่วนที่ สูญเสีย ในขณะที่อาณาบริเวณที่อยู่เกินกว่า ๓๘ องศาเหนือและ ๓๘ องศาใต้ขึ้นไปจะสูญเสียพลังงาน ความร้อนมากกว่าส่วนที่ได้รับ หากไม่มีการเคลื่อนที่ของมวลอากาศที่เรียกว่า “ลม” อาณาบริเวณโดยรอบ เส้นศูนย์สูตรจะร้อนขึ้นและร้อนขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์ ในทางกลับกัน อาณาบริเวณที่อยู่ใกล้กับขั้วโลกจะเย็นลงและเย็นลงอย่างต่อเนื่อง (Gabler, et. al., 2004)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=