สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้ นโลกที่ น่ารู้ 328 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 สมมติฐานเนบิวลาตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่า ก๊าซที่ร้อนระอุและฝุ่นละอองจ� ำนวนมหาศาล ที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ (Nebular) ได้เย็นและหดตัวเล็กลง แต่กลับมีการเคลื่อนที่ในลักษณะของ การหมุนเหวี่ยงที่เร็วขึ้น ด้วยแรงโน้มถ่วงในตัวเองท� ำให้ก๊าซและฝุ่นละอองดังกล่าวจับตัวกันเป็นก้อน และรวมตัวเข้าสู่ศูนย์กลางหลายจุดโดยมีความเป็นอิสระต่อกัน ท้ายที่สุดวัตถุที่เกิดจากการรวมตัวของ เนบิวลาเหล่านี้ได้ถูกบีบอัดเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นดวงอาทิตย์ ก๊าซและฝุ่นละอองส่วนหนึ่งแตกตัวออก เป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายจานล่องลอยอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ มีการรวมตัวกันเป็นมวลอัดแน่นหลายชิ้น และกลายเป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ รวมทั้งโลกของเราด้วย (www.universetoday.com) อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีความน่าจะเป็นได้น้อยมากที่โลกจะถือก� ำเนิดตามสมมติฐานดังกล่าวข้างต้น ตรง กันข้าม ปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นเหตุที่น� ำไปสู่การก� ำเนิดโลกคือเหตุการณ์ ตามสมมติฐานระเบิดอันยิ่งใหญ่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการแตกตัวอย่างรุนแรงของปรมาณู (Atom) ที่ มีความร้อนและมวลอันมหาศาลที่เรียกว่า“Big Bang” ท� ำให้เกิดดวงดาวต่าง ๆ มากมายจนกลายเป็น จักรวาล (นักวิทยาศาสตร์จ� ำนวนหนึ่งได้ใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Relativity) ของ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) อธิบายสนับสนุนสมมติฐานนี้) (www.myfirstbrain.com) ภายใน จักรวาลประกอบไปด้วยสรรพสิ่งมากมายโดยเฉพาะกลุ่มดาวที่เรียกว่า ดาราจักร (Galaxy) และส่วนของก๊าซ และฝุ่นละออง หนึ่งในดาราจักรของจักรวาลคือ ดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) มีกลุ่มดาว เล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีดาวเคราะห์น้อยใหญ่จ� ำนวนหนึ่งเป็นบริวารโคจรอยู่ โดยรอบ กลุ่มดาวเล็ก ๆ กลุ่มนี้รู้จักและเรียกขานกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า“ระบบสุริยะ” และดาวดวงหนึ่ง ในระบบสุริยะคือ “โลก”ที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ความจริงจะเป็นอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก� ำเนิดโลกมิใช่ประเด็นหลักของบทความนี้ เพราะเป็นเรื่องของอดีต สาระส� ำคัญที่ต้องการน� ำเสนอ ณ ที่นี้จะเน้นไปที่ความเป็นไปในปัจจุบันของโลก ซึ่งมีสิ่งที่มนุษย์ในฐานะองค์ประกอบส่วนหนึ่งน่าจะได้รับรู้ เจมส์ (James, 1972) นักภูมิศาสตร์ ชาวอเมริกันในตอนปลายยุคสมัยใหม่ทางภูมิศาสตร์ก่อนเข้าสู่ยุคของการปฏิรูปกล่าวเปรียบเทียบไว้อย่าง น่าสนใจว่า ถ้าดวงอาทิตย์มีขนาดเท่าผลส้ม โลกของเราจะมีขนาดเท่ากับหัวเข็มหมุด และทั้ง ๒ สิ่งอยู่ห่าง กันราว ๓๐ เซนติเมตร ระยะเปรียบเทียบนี้เท่ากับระยะห่างจริงโดยเฉลี่ยระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกคือ ๑๕๓ ล้านกิโลเมตร (๙๓ ล้านไมล์) ด้วยระยะห่างดังกล่าวท� ำให้เกิดภาวะสมดุลตามธรรมชาติของแรงโน้ม ถ่วงของดวงอาทิตย์และแรงโน้มถ่วงของโลกที่ส่งผลให้น�้ ำซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวสามารถปรากฏอยู่ได้ บนพื้นโลก และบรรยากาศซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซสามารถหุ้มห่ออยู่โดยรอบผิวโลก เมื่อรวมเข้ากับภาคพื้น ดินซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งได้กลายเป็นองค์ประกอบทางกายภาพที่ส� ำคัญของโลก ๓ ส่วน ประกอบด้วย ส่วนของพื้นดิน (lithosphere) ส่วนของพื้นน�้ ำ (hydrosphere) และส่วนของบรรยากาศ (atmosphere)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=