สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ลม : กายภาพของบรรยากาศบนพื้นโลกที่น่ารู้ มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ แม้นักวิทยาศาสตร์ได้อนุมานเอาไว้ว่าโลกเราถือก� ำเนิดมาแล้วราว ๔,๖๐๐ ล้านปี จนดู เหมือนนานพอที่จะท� ำให้องค์ประกอบทางกายภาพและชีวภาพบนพื้นโลกอยู่ในสภาพสมดุลแล้วก็ตาม แต่ โดยความเป็นจริงแล้วยังไม่มีอะไรที่หยุดนิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นโลกยังมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่าในหลายกรณี เราไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของเรา เช่น การโคจร ของโลกรอบตัวเองด้วยความเร็วถึง ๑,๖๔๕ กิโลเมตร/ชั่วโมง นอกเหนือจากการที่เราไม่สามารถรับรู้ การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบต่าง ๆ ของโลกเราใบนี้แล้ว มีหลายกรณีเช่นกันที่เราไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ด้วยซ�้ ำไปว่าการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร และเกิดจากสาเหตุใด บทความนี้จึงเป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะให้ความรู้และความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก โดยเลือกการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของบรรยากาศเฉพาะคือ “ลม” มาน� ำเสนอ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการทบทวนสิ่งที่เคยรู้และเคยเรียนมาก่อน ค� ำส� ำคัญ  : ลม, ประเภท, ทิศทางของลม, พายุไต้ฝุ่น, พายุเฮอริเคน, พายุทอร์นาโด บทน� ำ โลกจัดเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ ๓ ในระบบสุริยะ (solar system) เมื่อพิจารณาตามระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ต่อจากดาวพุธและดาวศุกร์อุบัติขึ้นเมื่อไรและอย่างไร ไม่มีใครทราบเป็นการแน่ชัด นักวิทยาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักฟิสิกส์ นักธรณีวิทยา และนักดาราศาสตร์ ต่างพยายามคาดประมาณอายุและการก� ำเนิดของโลกโดยอาศัยหลักฐานข้อมูลเท่าที่พอจะรวบรวมได้ และจากการสร้างแบบจ� ำลอง ที่สุดแล้ว เป็นที่ยอมรับกันในทางวิชาการว่าโลกของเราใบนี้ถือก� ำเนิด ในยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian period) เมื่อประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปีที่ผ่านมา กรณีที่ว่าโลกของ เราอุบัติขึ้นมาได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นประเด็นโต้แย้งและยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ อย่างไร ก็ตาม มีความเชื่อเกี่ยวกับความน่าจะเป็นหรือที่เรียกว่า สมมติฐาน (hypothesis) ที่ยังคงรอการพิสูจน์ อยู่ ๒ สมมติฐาน คือ (๑) สมมติฐานเนบิวลา (Nebular hypothesis) และ (๒) สมมติฐานระเบิดอัน ยิ่งใหญ่ (Big-bang hypothesis)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=