สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วงเดื อน นาราสั จจ์ 309 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ โดยติดอันดับหนังสือขายดีในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป และเอเชีย เฉพาะสัปดาห์แรกที่ออกวางจ� ำหน่าย ในสหรัฐอเมริกาสามารถขายได้ถึง ๑๐,๐๐๐ เล่ม ภายในปีแรกสามารถขายในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ถึง ๓๐๐,๐๐๐ เล่ม โดยรวมตลอดทั้งปีสามารถขายได้ถึง ๑,๕๐๐,๐๐๐ เล่ม ๑๓ รวมทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษา ต่าง ๆ รวม ๖๐ ภาษา ที่ส� ำคัญหนังสือเล่มนี้ได้ปลุกกระแสต่อต้านการมีทาสในสังคมอเมริกัน โดยเฉพาะ ในมลรัฐเสรีทางภาคเหนืออย่างรุนแรง ดังนั้นเมื่อแฮร์เรียต บีเชอร์ สโตว์มีโอกาสพบกับประธานาธิบดี เอบราแฮม ลินคอล์นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. หลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน (American Civil War, ค.ศ. ๑๘๖๑-๑๘๖๕) ยุติลง เธอจึงได้รับค� ำทักทายจากลินคอล์นว่า “สตรีตัวเล็ก ๆ ผู้เขียนหนังสือที่จุดไฟ สงครามที่ยิ่งใหญ่นี้” (.. the little woman who wrote the book that started this great war.) ๑๔ นอกจากสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว ผู้น� ำของขบวนการเลิกทาสซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเทศน์และนักคิดจ� ำนวน มากที่มีวาทศิลป์ดีก็มักแสดงปาฐกถาหรือบรรยายเกี่ยวกับความเลวร้ายของระบบทาสในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะการเทศน์ที่โบสถ์ของท้องถิ่นในวันอาทิตย์ ซึ่งสามารถโน้มน้าวกลุ่มเคร่งศาสนา ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในภาคเหนือให้เกิดความคิดต่อต้านระบบทาสและยินดีสนับสนุนขบวนการเลิกทาส ทั้งโดยการบริจาคเงินสมทบทุน การหารายได้ และการร่วมกิจกรรมในฐานะสมาชิกอย่างแข็งขัน นอกจากนี้ ยังมีโบสถ์ของคนผิวด� ำ (Black Churches) ที่นักเทศน์ผิวด� ำก็พยายามปลุกระดมความคิดของสมาชิกให้ ๑๓ “Uncle Tom’s Cabin,” https://www.harrietbeecherstowecenter.org/utc/ สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙. ๑๔ “Harriet Beecher Stowe,” http://www.biography.com/people/harriet-beecher-stowe-9496479 สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙. Herriel Beecher Stowe ปกของนวนิยายเมื่อพิมพ์จ� ำหน่ายครั้งแรก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=