สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วงเดื อน นาราสั จจ์ 305 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ กดขี่ทารุณทาสจนถึงขั้นท� ำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสโดยไม่ผิดกฎหมาย ท� ำให้กลุ่มเคร่งศาสนาบางกลุ่ม ต่อต้านการมีทาสในสหรัฐอเมริกา และสนับสนุนขบวนการเลิกทาสที่ช่วยเหลือให้ทาสหลบหนี แนวคิดต่อต้านการมีทาสในสหรัฐอเมริกาเริ่มแพร่หลายหลังจากชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ กลุ่มเมนโนไนต์ (Mennonites) จากสวิตเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์ซึ่งเคร่งศาสนาได้ร่วมลงนาม ต่อต้านการมีทาสในทวีปอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๖๘๘ ๕ แต่แนวคิด ดังกล่าวยังอยู่ในวงจ� ำกัดเฉพาะกลุ่มเคร่งศาสนาบางกลุ่ม เช่น เมนโนไนต์ เควกเกอร์ (Quakers) ต่อมาใน ค.ศ. ๑๘๐๘ สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้มีการน� ำทาสเข้ามาในประเทศอีก หากยังคงระบบ ทาสไว้ตามเดิมเพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของไร่ในภาคใต้ ท� ำให้กระแสต่อต้านการมีทาสขยายตัวในกลุ่ม เคร่งศาสนาทางภาคเหนือและแสดงออกในรูปบทความทางหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๒๑ แต่ก็ยังคงอยู่ ในวงจ� ำกัด การต่อต้านการมีทาสอย่างแพร่หลายเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๓๑ เมื่อวิลเลียม ลอยด์ แกร์ริสัน (William Lloyd Garrison) นักเลิกทาสหัวรุนแรง ได้ออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ The Liberator ที่เมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ เพื่อเผยแพร่ความคิดเกี่ยวกับการเลิกทาสอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ใน ค.ศ. ๑๘๓๓ แกร์ริสันได้ร่วมมือกับทีโอดอร์ ดไวต์ เวลด์ (Theodore Dwight Weld) ก่อตั้งสมาคมต่อต้าน การมีทาสของสหรัฐอเมริกา (American Anti-Slavery Society) ๖ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากทั้งชนผิวขาวและผิวด� ำ และมีสมาชิกเข้าร่วมรณรงค์เผยแพร่ความ คิดเกี่ยวกับการเลิกทาสจ� ำนวนมาก ประกอบด้วย นักธุรกิจ นักศึกษา สตรี และคนผิวด� ำ หลังจากนั้นอีก ไม่กี่ปีต่อมา เกิดความแตกแยกทางความคิดภายในสมาคมต่อต้านการมีทาสระหว่างผู้น� ำกลุ่มหัวรุนแรงที่ น� ำโดย แกร์ริสัน เวนเดลล์ ฟิลลิปส์ (Wendell Phillips) และจอห์น บราวน์ (John Brown) ซึ่งต้องการให้ ล้มเลิกระบบทาสทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข กับกลุ่มสายกลางที่มีเวลด์เป็นผู้น� ำและต้องการให้เลิกทาสแบบค่อย เป็นค่อยไป โดยใช้กระบวนการทางศาสนาและการเมืองช่วยผลักดัน ดังนั้นตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๔๐ เป็นต้นไป กลุ่มที่มีแนวคิดสายกลางจึงแยกตัวออกไปตั้งสมาคมใหม่ชื่อ American and Foreign Anti-Slavery ที่เน้นเฉพาะสมาชิกเพศชาย ส่วนกลุ่มหัวรุนแรงก็ขยายเครือข่ายเพื่อล้างระบบทาสในสหรัฐอเมริกา อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีสาขาย่อยตามเมืองต่าง ๆ มากกว่า ๑,๕๐๐ สาขา โดยแต่ละ สาขามีการด� ำเนินงานเป็นอิสระต่อกัน ปัจจัยส� ำคัญที่ส่งเสริมให้มีสมาชิกและสาขาย่อยเพิ่มขึ้นจ� ำนวนมาก คือ การที่กลุ่มหัวรุนแรงสนับสนุนบทบาทสมาชิกสตรีที่มีกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี (feminism) เป็นแกนน� ำ ๕ Kem Knapp Sawyer, (2010), Harriet Tubman , p.14. ๖ ดู “American Anti-Slavery Society (1833) : สมาคมต่อต้านการมีทาสของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.๒๓๗๖),” สารานุกรมประวัติศาสตร์สากล : อเมริกา เล่ม ๑ อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) . หน้า ๕๘-๖๐.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=