สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

299 พรชั ย ชุนหจิ นดา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๔.๔ สรุป กล่าวโดยภาพรวมได้ว่า การลงทุนโดยตรงในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้มีการปรับตัว สูงขึ้นอย่างชัดเจนใน ค.ศ. ๒๐๑๕ จนเกือบใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในอดีต หลังจากที่มีการชะลอตัวมา ตลอดระยะเวลาหลายปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตซับไพรม์ที่ลุกลามจากสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ ภูมิภาคยุโรป และกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อมา นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศก� ำลังพัฒนา เป็นผู้รับการลงทุนสุทธิจากแหล่งอื่น ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้ลงทุนสุทธิในแหล่งอื่น และ เมื่อพิจารณาเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน พบว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีการลงทุนกันเองภายในภูมิภาค ในสัดส่วนสูงที่สุด ขณะที่สหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากเป็นอันดับ ที่ ๒ และ ๓ ตามล� ำดับ ส� ำหรับการศึกษาเรื่องการลงทุนโดยตรงในระดับภูมิภาคอาเซียนพบว่า การลงทุน โดยตรงที่ไหลเข้ากลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำทั้ง ๖ ประเทศจะได้รับการดึงดูดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ คือ ปัจจัยที่ ๑ กลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศสูง ปัจจัยที่ ๒ รัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียนมีการสร้างบรรยากาศการลงทุนภายใน ที่ดี ปัจจัยที่ ๓ ประเทศกลุ่มอาเซียนมีอัตราการว่างงานต�่ ำซึ่งเป็นตัวสะท้อนศักยภาพภายในของ ภูมิภาค ปัจจัยที่ ๔ ประเทศกลุ่มอาเซียนชั้นน� ำมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่เอื้อต่อการลงทุน และปัจจัยที่ ๕ การแข็งค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของประเทศอาเซียน ดังนั้น รัฐบาลของประเทศอาเซียน ชั้นน� ำทั้ง ๖ ประเทศควรก� ำหนดนโยบายที่มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาและรักษาระดับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การลดอัตราการว่างงานภายใน ประเทศ ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศที่ดีเพื่อรองรับและดึงดูดการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศและภูมิภาค.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=