สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซี ยนชั้ นน�ำ 296 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ดัชนีวัดการปราศจากความล่าช้าของระบบราชการ และดัชนีวัดการปราศจากการคอร์รัปชัน มีความ สัมพันธ์ทางบวกกับการลงทุนโดยตรงไหลเข้ากลุ่มประเทศก� ำลังพัฒนาซึ่งวัดเป็นร้อยละของจีดีพี Alemu (2013) ศึกษาถึงผลกระทบของการคอร์รัปชันที่มีต่อการลงทุนโดยตรงไหลเข้าประเทศในภูมิภาคเอเชีย ๑๖ ประเทศจาก ค.ศ. ๑๙๙๕-๒๐๐๙ และพบว่า การเพิ่มขึ้น ๑ หน่วยของระดับการคอร์รัปชัน ส่งผลให้การลงทุนโดยตรง ไหลเข้าลดลงประมาณร้อยละ ๙.๑ การศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Mathur and Singh (2013) ซึ่งศึกษา ๒๙ ประเทศและพบว่า ประเทศที่มีดัชนีการคอร์รัปชันสูงจะน� ำไป สู่การมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าต�่ ำ Williams (2015) ศึกษาประเทศก� ำลังพัฒนา ๖๘ ประเทศ และพบว่า โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดี จะช่วยดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ๔.๒ การก� ำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ในส่วนนี้จะได้สรุปผลการศึกษาของ Chunhachinda and Li (2016) ซึ่งท� ำการศึกษา ปัจจัยที่ก� ำหนดการลงทุนโดยตรงไหลเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ ๖ ประเทศอันประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๘๐-๒๐๑๓ โดยเหตุ ที่เลือกศึกษาเพียง ๖ ประเทศดังกล่าว เนื่องจากตัวเลขสถิติที่แสดงในตารางที่ ๔ และ ๕ ก่อนหน้านี้ ปรากฏชัดเจนว่า ทั้ง ๖ ประเทศเป็นผู้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบ กับประเทศอาเซียนอื่น ๆ ที่เหลืออีก ๔ ประเทศ นอกจากนี้ การเลือกช่วงเวลาที่ท� ำการศึกษาคือตั้งแต่ ทศวรรษ ๑๙๘๐ นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับการสนับสนุนจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างจริงจังและหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ค.ศ. ๑๙๙๗ เงินลงทุนโดยตรงจากประเทศพัฒนาแล้ว จึงหลั่งไหลเข้ามาสมทบในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น จากผลการศึกษาในอดีตที่มีการสรุปไว้ในส่วนของการทบทวนวรรณกรรมหัวข้อ ๔.๑ การศึกษาของ Chunhachinda and Li (2016) จึงใช้เป็นแนวทางในการเลือกตัวแปรที่จะน� ำมาใช้ใน การทดสอบนัยส� ำคัญทางสถิติ ๓ ดังนี้ คือ ตัวแปรตามก� ำหนดเป็นร้อยละของเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้า สุทธิ เทียบกับจีดีพีของประเทศ (FDI) และตัวแปรต้นอีก ๕ ตัวแปร คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศ (GDPG) การสะสมทุนภายในประเทศ (CAP) ต้นทุนซึ่งวัดโดยร้อยละของการว่างงาน (UNEMP) ระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (TELE) และความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FXRISK) โดยใช้การทดสอบสมการถดถอยก� ำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และตั้งสมมุติฐานของทิศทางความสัมพันธ์ ๓ ตัวแปรบางตัวไม่สามารถหาข้อมูลได้ครบถ้วน เนื่องจากบางประเทศในอาเซียนมีข้อมูลครบถ้วน ขณะที่บางประเทศไม่มีข้อมูลเลยหรือ มีเพียงระยะสั้น ๆ จึงเป็นข้อจ� ำกัดของการศึกษานี้ที่จะเลือกใช้ตัวแปรเท่าที่มีการจัดเก็บไว้อย่างครบถ้วนในฐานข้อมูลที่เป็นทางการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=