สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
295 พรชั ย ชุนหจิ นดา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ร้อยละ ๑๙.๗ ของเงินลงทุนไหลเข้าภูมิภาคอาเซียน โดยเป็นสัดส่วนที่ลดลงเมื่อเทียบกับ ค.ศ. ๒๐๑๓ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ ๒๕.๕ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้ลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซียนสูง เป็นอันดับที่ ๓ โดยมีสัดส่วนการลงทุนใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ที่ร้อยละ ๑๗.๒ ซึ่งลดลงอย่างมากจาก ค.ศ. ๒๐๑๓ ที่มีสัดส่วนร้อยละ ๒๕.๗ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนการลงทุนโดยตรง ในกลุ่มประเทศอาเซียนสูงขึ้น สวนทางกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น กล่าวคือ มีสัดส่วน การลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ที่ร้อยละ ๑๓.๓ ซึ่งสูงขึ้นจากสัดส่วนการลงทุนใน ค.ศ. ๒๐๑๓ ที่มีเพียงร้อยละ ๗.๔ ๔. การศึกษาเชิงประจักษ์เรื่องปัจจัยก� ำหนดการลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ ๔.๑ ทบทวนวรรณกรรมเรื่องปัจจัยที่ก� ำหนดการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ งานวิจัยหลายชิ้นศึกษาเรื่องการลงทุนโดยตรงที่ไหลเข้าไปลงทุนในประเทศก� ำลังพัฒนา ประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น Angelo et al. (2010) ศึกษาประเทศบราซิลและพบว่า การบริโภคภายใน ประเทศเป็นปัจจัยก� ำหนดเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าประเทศบราซิล Sun et al. (2002) ศึกษาประเทศจีนลึกลงไปในระดับจังหวัด ๓๐ จังหวัด และพบว่า คุณภาพของแรงงาน ระบบสาธารณูปโภค เสถียรภาพทางการเมือง และระดับการเปิดกว้างต่อต่างชาติ เป็นปัจจัยที่อธิบายการลงทุนโดยตรงไหลเข้าสู่ประเทศจีน นอกจากนี้ Giner and Giner (2004) ซึ่งศึกษาประเทศจีนเช่นเดียวกันพบว่า ความเสี่ยงทางการเมือง ความเสี่ยงทางการด� ำเนินงาน และสัดส่วน การส่งออกต่อจีดีพีของประเทศมีความสัมพันธ์กับเงินลงทุนโดยตรงที่ไหลเข้าประเทศจีน Singhania and Gupta (2011) ศึกษาประเทศอินเดียและพบว่าจีดีพีของประเทศ อัตราเงินเฟ้อและระดับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มีนัยส� ำคัญต่อการลงทุนโดยตรงที่ไหลเข้าประเทศอินเดีย Fedderke and Romm (2006) ศึกษาประเทศแอฟริกาใต้และพบว่า ขนาดของตลาด มูลค่าการส่งออก และเสถียรภาพทางการเมือง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการลงทุนโดยตรงที่ไหลเข้าประเทศ ขณะที่ปัจจัย เรื่องภาษี ค่าแรงขั้นต�่ ำ และมูลค่าการน� ำเข้า มีผลทางลบต่อการลงทุนโดยตรงไหลเข้าประเทศแอฟริกาใต้ Chien and Zhang (2012) ศึกษาประเทศเวียดนามและพบว่า ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและ คุณภาพของระบบสาธารณูปโภคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าประเทศเวียดนาม งานวิจัยบางชิ้นศึกษาเรื่องปัจจัยก� ำหนดการลงทุนโดยตรงไหลเข้าในหลาย ๆ ประเทศ พร้อมกัน เช่น Hsiao and Gastanaga (2001) ศึกษาการลงทุนโดยตรงไหลเข้าประเทศก� ำลังพัฒนา ๒๓ ประเทศ ในทุกภูมิภาคในช่วง ค.ศ. ๑๙๗๐-๑๙๙๕ และพบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=