สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

291 พรชั ย ชุนหจิ นดา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ตารางที่ ๓ แสดงมูลค่าสะสมของการลงทุนโดยตรง (Stock of FDI) ทั้งด้านกระแสเงินไหล เข้า (inward) และกระแสเงินไหลออก (outward) เทียบเป็นร้อยละ (%) ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศหรือจีดีพี (gross domestic product-GDP) ของภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ณ สิ้น ค.ศ. ๒๐๑๐ ถึงสิ้น ค.ศ. ๒๐๑๕ ส� ำหรับภาพรวมนั้น กล่าวได้ว่าใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ทั้งกระแสเงินไหลเข้าและไหลออก คิดเป็นประมาณร้อยละ ๓๔ ของจีดีพี ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีมูลค่าสะสม ของการลงทุนโดยตรง ด้านกระแสเงินไหลเข้า คิดเป็นร้อยละของจีดีพี (ร้อยละ ๓๗) น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ เงินไหลออก (ร้อยละ ๔๕) โดยแนวโน้มดังกล่าวได้ปรากฏให้เห็นมาโดยตลอดตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐ ส� ำหรับกลุ่มประเทศก� ำลังพัฒนามีมูลค่าสะสมของการลงทุนโดยตรงด้านกระแสเงินไหลเข้าเป็น สัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับจีดีพี กล่าวคือ ประมาณร้อยละ ๒๙ ใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ส่วนมูลค่าสะสมของ ด้านกระแสเงินไหลออกมีมูลค่าเพียงประมาณร้อยละ ๑๘ ของจีดีพีส� ำหรับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย และลาตินอเมริกาจะมีรูปแบบการลงทุนที่คล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับภาพรวมของกลุ่มประเทศก� ำลัง พัฒนา กล่าวคือ มีกระแสเงินไหลเข้าคิดเป็นร้อยละของจีดีพีสูงกว่าในกรณีของกระแสเงินไหลออกมาก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ๓. การลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ ในส่วนนี้จะได้อธิบายถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศ อาเซียน (ASEAN) โดยใน ค.ศ. ๑๙๖๗ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๕ ประเทศได้รวม ตัวกันจัดตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ขึ้น จากนั้นประเทศสมาชิกได้เพิ่มจ� ำนวนขึ้นจนเป็น ๑๐ ประเทศในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area-AFTA) ขึ้นเพื่อเพิ่มระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับภูมิภาค โดยการก� ำจัด อุปสรรคทางการค้าทั้งในเรื่องภาษีและไม่ใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ต่อมา ความร่วมมือ ได้มีความก้าวหน้าไปถึงขั้นมีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวทางด้านเศรษฐกิจที่เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนหรือเออีซี (ASEAN Economic Community-AEC) ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๕ วัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่งของอาฟตา คือ การดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ตารางที่ ๔ แสดงมูลค่าสะสมของเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๐๓ ถึง ค.ศ. ๒๐๑๕ (รวม ๑๓ ปี) จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้รับการลงทุนโดยตรง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=