สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

287 พรชั ย ชุนหจิ นดา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๒. การขยายตัวของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ๒ ในส่วนนี้ จะได้น� ำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงความนิยมและการขยายตัวของการลงทุนโดยตรง ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ในการพิจารณาเรื่องขนาดของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศมีตัวเลขสถิติที่นิยม อ้างอิงกันอย่างแพร่หลาย ๒ ตัวเลข คือ มูลค่าสะสมของการลงทุนโดยตรง (Stock of FDI) และกระแส เงินของการลงทุนโดยตรง (Flows of FDI) โดยมูลค่าสะสมของการลงทุนโดยตรง หมายถึง มูลค่า การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศที่สะสมมาตลอดจนถึง ณ วันที่มีการรายงานตัวเลขสถิติ ส่วนกระแส เงินของการลงทุนโดยตรง หมายถึง มูลค่าการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศที่เก็บรวบรวมไว้ในรอบระยะ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นรอบระยะเวลา ๑ ปี นอกจากนี้ กระแสเงินที่เกิดขึ้นจากการลงทุน โดยตรง ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นกระแสเงินไหลเข้าของการลงทุนโดยตรง (Inflows of FDI) และ กระแสเงินไหลออกของการลงทุนโดยตรง (Outflows of FDI) ตารางที่ ๑ แสดงมูลค่ากระแสเงินไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงแยกตามภูมิภาคและสถานภาพ ทางเศรษฐกิจตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐ ถึง ค.ศ. ๒๐๑๕ โดยจะเห็นได้ว่า มูลค่ารวมของเงินไหลเข้าเพื่อการ ลงทุนโดยตรงของทุกประเทศรวมกันเคยมีมูลค่าสูงสุดถึง ๑,๕๖๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ จากนั้น มูลค่าการลงทุนโดยตรงได้ลดต�่ ำลงจนถึงจุดต�่ ำสุดใน ค.ศ. ๒๐๑๔ ที่มีมูลค่าการลงทุนเหลือ ประมาณ ๑,๒๗๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนไหลเข้าสูงถึง ๑,๗๖๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็น ผลสืบเนื่องจากวิกฤตซับไพร์มที่ก่อตัวขึ้นที่สหรัฐอเมริกาในช่วง ค.ศ. ๒๐๐๘-๒๐๐๙ และลุกลาม เข้าสู่ประเทศในภูมิภาคยุโรปช่วง ค.ศ. ๒๐๑๐-๒๐๑๑ จนกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจถดถอยระดับโลก จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลใน ค.ศ. ๒๐๑๕ สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของ การลงทุนโดยตรงอีกครั้งหนึ่ง จากข้อมูลในตารางที่ ๑ เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวเลข ค.ศ. ๒๐๑๕ สามารถแยกเป็นกระแสเงิน ไหลเข้าในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มูลค่าประมาณ ๙๖๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๕๕ ของมูลค่ากระแสเงินไหลเข้ารวม ในส่วนของกระแสเงินไหลเข้าในกลุ่มประเทศก� ำลังพัฒนามีมูลค่า ประมาณ ๗๖๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๓ ของมูลค่ากระแสเงินไหลเข้ารวม โดย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอดตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐ ยกเว้นเพียง ค.ศ. ๒๐๑๔ ที่มูลค่าลดลงอย่างมีนัยส� ำคัญ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีกระแสเงินไหลเข้าเพื่อลงทุนโดยตรงในประเทศ กลุ่มสหภาพยุโรปในสัดส่วนสูงที่สุดประมาณร้อยละ ๔๖ และรองลงไป คือ ภูมิภาคอเมริกาเหนือ ๒ เพิ่มเติมจาก พรชัย ชุนหจินดา (๒๕๕๘) การบริหารการเงินระหว่างประเทศ (ฉบับปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ ๖) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=