สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซี ยนชั้ นน�ำ 286 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ในกิจการใด ๆ ที่อยู่นอกประเทศของเจ้าของเงินลงทุน โดยเจ้าของเงินลงทุนซึ่งอาจเป็นบุคคลคนเดียว กลุ่มบุคคล หรือบริษัทข้ามชาติประสงค์ที่จะมีอ� ำนาจควบคุม จัดการ หรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ในกิจการที่ลงทุนอยู่ในต่างประเทศนั้น ส� ำหรับแนวคิดที่ใช้อธิบายความนิยมในการลงทุนแบบโดยตรงที่มีเหนือการลงทุนในรูปแบบ อื่น ๆ เช่น การให้สิทธิบัตร การท� ำกิจการร่วมค้า และการหาพันธมิตรทางการค้า คือ กระบวนทัศน์โอแอลไอ (OLI Paradigm) ซึ่ง Buckley and Casson (1976) และ Dunning (1977) เป็นผู้น� ำเสนอ แนวคิดนี้ จากวิธีคิดและปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนรากฐานการมองโลกด้วยความเป็นจริง ทั้งนี้ กระบวนทัศน์โอแอลไอ สามารถแยกองค์ประกอบได้ ๓ ส่วน ดังนี้ คือ องค์ประกอบที่ ๑ คือ O (Owner-specific advantages) หมายถึง ความได้เปรียบจาก การเป็นเจ้าของลักษณะเฉพาะที่เป็นความเฉพาะตัวของบริษัท หรือของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตจ� ำหน่าย ซึ่งยากต่อการลอกเลียนแบบและดัดแปลงโดยบริษัทคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม ลักษณะเฉพาะนั้น ๆ จะต้อง สามารถถ่ายโอนไปให้บริษัทย่อยในต่างประเทศได้ องค์ประกอบที่ ๒ คือ L (Location-specific advantages) หมายถึง ความได้เปรียบจาก การมีท� ำเลที่ตั้งเฉพาะ ซึ่งหมายรวมถึงการที่บริษัทตั้งอยู่ในแหล่งที่มีแรงงานมีฝีมือหรือมีผลิตภาพสูง เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่เหมาะกับกระบวนการผลิตของบริษัท เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีก� ำลังซื้อสูง หรือ เป็นแหล่งที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นประโยชน์ต่อการด� ำเนินกิจการของบริษัท องค์ประกอบที่ ๓ คือ I (Internalization) หมายถึง การที่บริษัทสามารถครอบครองข้อมูล ภายในที่เป็นประโยชน์กับตัวบริษัทเอง รวมถึงความสามารถในการรักษาทุนมนุษย์ไว้ให้ยังคงอยู่กับบริษัท เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทต่อไปในอนาคต บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะน� ำเสนอมิติที่น่าสนใจของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ เช่น ตัวเลขมูลค่าการลงทุนที่สะท้อนถึงความนิยมของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ทั้งฝั่งไหลเข้า และไหลออกในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ตัวเลขมูลค่าสะสมของเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าในกลุ่มประเทศ อาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เป็นผู้รับเงินลงทุนสุทธิจากแหล่งอื่นมาเป็นเวลานาน และปิดท้ายด้วยงานวิจัย ในเชิงประจักษ์ของการลงทุนโดยตรงไหลเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ ซึ่งเน้นการศึกษาเพื่อหาปัจจัย ที่อธิบายความเชื่อมโยงของการลงทุนโดยตรงไหลเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ ๖ ประเทศ อันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=