สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ การลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ พรชัย ชุนหจินดา ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ๑ IMF Committee on Balance of Payments Statistics and OECD Workshop on International Investment Statistics, Direct Investment Technical Expert Group (DITEG), Issues Paper (DITEG) # 20, Definition of Foreign Direct Investment (FDI) Terms, November 2004. บทคัดย่อ การลงทุนโดยตรงเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยมอย่างสูง มาเป็นเวลานาน ซึ่งสามารถยืนยันได้จากมูลค่าสะสมของการลงทุนโดยตรงในระดับโลก ทั้งฝั่งไหลเข้า และไหลออกที่สูงกว่าร้อยละ ๓๐ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แต่เมื่อพิจารณาตามระดับ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ พบว่า ประเทศพัฒนาแล้วมีสัดส่วนของเงินลงทุนโดยตรงไหลออกสูงกว่าไหลเข้า ในขณะที่ประเทศก� ำลังพัฒนามีสัดส่วนของเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้ามากกว่าไหลออกเนื่องจากจ� ำเป็น ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ ส� ำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตลอดช่วงเวลา ๑๓ ปีที่ผ่านมา (ค.ศ. ๒๐๐๓-๒๐๑๕) มีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าสะสมสูงถึง ๑.๐๔ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นของประเทศสิงคโปร์ถึง ๕.๓ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นของประเทศอาเซียนชั้นน� ำอีก ๕ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม อีก ๔.๗ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประเทศอาเซียนที่เหลืออีก ๔ ประเทศ รับเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าสะสมตลอด ๑๓ ปี เพียง ๔ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การวิจัยในเชิงประจักษ์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรง ไหลเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำทั้ง ๖ ประเทศ พบปัจจัยที่มีนัยส� ำคัญ คือ ประเทศอาเซียนชั้นน� ำ มีตลาดขนาดใหญ่ มีการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี  มีอัตราการว่างงานต�่ ำ และมีการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่เอื้อต่อการลงทุน ค� ำส� ำคัญ : การลงทุนโดยตรง, กลุ่มประเทศอาเซียนชั้นน� ำ, ปัจจัยดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้า ๑. บทน� ำ การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ตามค� ำจ� ำกัดความของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ๑ หมายถึง การลงทุนระยะยาว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=