สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กลยุทธ์การจั ดการศึ กษาขั้ นพื้ นฐานของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ 278 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ความต้องการและความส� ำเร็จของโรงเรียนในการพัฒนาผู้เรียน และสนับสนุนให้ NIE วิจัยพัฒนาการ ศึกษาขึ้น กล่าวคือ ๑) เป็นการเชื่อมโยงภารกิจของ NIE กับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ๒) ผลักดันให้ NIE พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างงานวิจัย เพื่อตอบค� ำถามส� ำคัญในเรื่อง การเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา และวิธีการบริหารจัดการศึกษาของสาธารณรัฐ สิงคโปร์ให้ดียิ่งขึ้น และ ๓) สร้างองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียน การสอนในห้องเรียน เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับห้องเรียน เป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียน เป็นข้อมูล ส� ำคัญ เพื่อก� ำหนดนโยบายและประเมินความส� ำเร็จของกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลโดยกระทรวง ศึกษาธิการได้สนับสนุนงบประมาณจ� ำนวนมหาศาล เพื่อผลักดันให้ NIE เป็นสมองในการพัฒนาการศึกษา ของชาติ ระหว่าง ค.ศ. ๒๐๐๓-๒๐๑๒ กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนงบประมาณวิจัยให้ NIE จ� ำนวน ๓,๖๐๐ ล้านบาท โดยเฉลี่ยปีละ ๔๐๐ ล้านบาท ท� ำให้เกิดศูนย์วิจัยศาสตร์การสอนและการจัดการเรียน การสอน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ และส� ำนักงานวิจัยการศึกษาเพื่อให้ NIE ปฏิบัติภารกิจ ที่ส� ำคัญในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางคุรุศึกษา การผลิตและพัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากร ทางการศึกษา (แผนภาพที่ ๕) เพื่อความส� ำเร็จของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ และเพื่ออนาคตของสาธารณรัฐ สิงคโปร์ จะเห็นได้ว่า รัฐบาลสิงคโปร์รับเป็นเจ้าภาพมอบภารกิจส� ำคัญให้ NIE พร้อมสนับสนุนเงินเพื่อ พัฒนาคน สร้างองค์ความรู้ให้ NIE เป็นหัวจักรน� ำขบวนขับเคลื่อนระบบการศึกษาของชาติ ล่าสุด NIE ได้รับการจัดอันดับโดย QS University Ranking อยู่อันดับ ๑๐ ของโลกในสาขาศึกษาศาสตร์ ๘. กลยุทธ์การประกันคุณภาพการศึกษากระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้ประกาศใช้ School Excellence Model โดยยึดหลักการให้รางวัลและการเป็นที่ยอมรับเป็นกลไก ในการขับเคลื่อนยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา โดยก� ำหนดให้มีแผนแม่บทในการมอบรางวัล ให้สถานศึกษาที่ประสบความส� ำเร็จในการพัฒนาคุณภาพ โดยแบ่งเป็นรางวัลระดับ ๑ รางวัลระดับ ๒ และรางวัลพิเศษเป็นการมอบรางวัลเกียรตินิยมให้สถานศึกษา และรางวัลความเป็นเลิศของสถานศึกษา จากกลยุทธ์นี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้ก้าวข้าม การประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อรับรองหรือไม่รับรองมาตรฐานไปแล้ว (Compliance approach) สิ่งที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ใช้ในการขับเคลื่อนคุณภาพ คือ School Excellence Model โดยใช้ reward and recognition นั่นเอง ๙. กลยุทธ์การสร้างดุลยภาพระหว่างความมีอิสระหรือภาวะเสรี (autonomy) กับความ รับผิดชอบ (accountability) ของสถานศึกษาในการบริหารสถานศึกษาเพื่อผู้เรียนและเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ได้กระจายอ� ำนาจให้แก่ สถานศึกษามากขึ้น โดยสถานศึกษามีอิสระในการบริหารงานบุคคลด้วยตนเอง เช่น การอนุญาตให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=