สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 277 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ศึกษาที่มีคุณภาพตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีความต่อเนื่องสูงในแบบที่กระทรวงศึกษาธิการก� ำหนด นโยบาย สนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบาย และการก� ำกับติดตามประเมินความส� ำเร็จของนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ด� ำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล คือ ให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย และมาตรฐานคุณภาพนักเรียน แต่ หลากหลายการปฏิบัติ โดยสถานศึกษาภายใต้ ขอบเขต ที่กระทรวงศึกษาธิการก� ำหนด ๔. กลยุทธ์การก� ำหนดวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาที่โดนใจครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และ สาธารณชน เช่น “Thinking school, Learning Nation” “Teach less, Learn more” “Strong Fundamentals, Future Learning) รวมทั้งกลยุทธ์ “Tight, Loose, Tight Approach” ท� ำให้ครู และผู้เกี่ยวข้องด� ำเนินการตามนโยบายเพื่อสนองวิสัยทัศน์ดังกล่าวอย่างมีเอกภาพ ๕. กลยุทธ์การลงทุนทางการศึกษา สาธารณรัฐสิงคโปร์ลงทุนทางการศึกษาพื้นฐาน สูง มากและมีการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์มี ค่าใช้จ่ายต่อหัวสะสมส� ำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ ๖-๑๕ ปี เป็น ๘๕,๒๖๔ ดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดใน ภูมิภาคนี้และสูงกว่าประเทศ OECD หลายประเทศ จากผลการศึกษาพบว่า นอกจากทรัพยากรแล้ว วิธีการใช้ทรัพยากรก็ส� ำคัญมากเท่ากับปริมาณของทรัพยากรที่มีอยู่ และโดยทั่วไป ข้อมูลชี้ว่าประเทศที่มี ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาต�่ ำกว่า มักมีผลประเมินจากคะแนน PISA ต�่ ำกว่า (สสวท. : ๒๕๕๙) ๖. กลยุทธ์การพัฒนาให้วิชาชีพครูในสิงคโปร์เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง เป็นวิชาชีพที่มี การแข่งขันและคัดสรรสูงมาก มีการคัดสรรผู้เรียนที่เป็นคนเก่งในแต่ละรุ่นร้อยละ ๓๓ มาเรียนเพื่อเป็น ครูที่ NIE โดยได้รับทุนการศึกษาแล้วผ่านการคัดกรองรอบที่ ๒ ประมาณร้อยละ ๑๐-๑๕ ได้เป็นครู ผู้เป็นครูในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงจะได้รับเงินเดือนและสวัสดิการเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น ๆ จึงท� ำให้มั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานสูงของครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานในสาธารณรัฐสิงคโปร์ อีกทั้งครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ยังได้รับการอบรมพัฒนา ไม่ต�่ ำกว่า ๑๐๐ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ เพื่ออนาคตของเด็กสิงคโปร์และอนาคตของสาธารณรัฐสิงคโปร์นั่นเอง ๗. กลยุทธ์การบริหารจัดการคุรุศึกษา (Governance in Teacher education) เพื่อชาติ ใน ค.ศ. ๑๙๙๗ Siong Guan Lim ปลัดกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์บริหารกระทรวง ศึกษาธิการภายใต้นโยบายของรัฐบาล คือ “Thinking School, Learning Nation” ทั้งนี้ประสงค์ให้ กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานสร้างสรรค์นโยบายที่มีประสิทธิภาพ สามารถน� ำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยการเชื่อมโยงการท� ำงานของหน่วยงานส� ำคัญ ๓ หน่วย คือ NIE ซึ่งเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูและ ผู้บริหารสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียน (แผนภาพที่ ๔) โดยมีกลยุทธ์ให้ NIE เป็นหัวจักร ขับเคลื่อนระบบการศึกษาของชาติ โดยระบุผลลัพธ์ที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=