สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

กลยุทธ์การจั ดการศึ กษาขั้ นพื้ นฐานของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ 276 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 จากเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ความส� ำเร็จจากการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์น่าจะมาจากกลยุทธ์ต่อไปนี้ ๑. กลยุทธ์การใช้มาตรฐานระดับนานาชาติเป็นมาตรฐานการศึกษาของชาติสิงคโปร์ กล่าวคือ สิงคโปร์ได้เข้าร่วมทดสอบระดับนานาชาติต่าง ๆ เช่น The International Mathematics and Science Study (TIMSS) Progress in International Reading Literacy Study (PIRLS) The Program for International Student Assessment (PISA) และอื่น ๆ ท� ำให้มาตรฐานการศึกษาของ สาธารณรัฐสิงคโปร์ทุกระดับการศึกษาอยู่ในระดับสากล ในระดับอุดมศึกษา สิงคโปร์ได้เข้าร่วมการจัด อันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก ประจ� ำปี ๒๐๑๕/๒๐๑๖ โดย QS University Ranking พบว่า National University of Singapore (NUS) เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ ๑ ในเอเชียและเป็นอันดับที่ ๑๒ ของโลก และ Nanyang Technological University (NTU) เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ ๒ ของเอเชียและเป็นอันดับ ที่ ๑๓ ของโลก กลยุทธ์นี้ท� ำให้เกิดการตื่นตัวและมีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสิงคโปร์ รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง อันส่งผลดีต่อการพัฒนาสาธารณรัฐสิงคโปร์จนได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ๒. กลยุทธ์การก� ำหนดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยึดมาตรฐานของชาติ (National Standard- Based Basic (Education) ในรูปมาตรฐานของนักเรียน โดยการก� ำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ นักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ให้ชัดเจน ดังแสดงในแผนภาพที่ ๓ ซึ่งน� ำไปสู่การจัดหลักสูตรและการเรียน การสอนรวมทั้งการประเมิน เพื่อนักเรียนและ NIE จะก� ำหนดแบบจ� ำลองเพื่อผลิตและพัฒนาครูและ ผู้บริหารการศึกษา (แผนภาพที่ ๕) ให้สามารถบ่มเพาะให้ได้นักเรียนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าว เพื่ออนาคตของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ทั้งนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการรับเป็นเจ้าภาพจัดงบประมาณ สนับสนุนและควบคุมการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพไร้ปัญหาคอร์รัปชันทางการศึกษา จุดเด่นประการส� ำคัญแสดงในตารางที่ ๑ มีการก� ำหนดเป้าประสงค์ในการเรียนรู้ที่คาดหวัง ที่ถักทอ สอดคล้องกันตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับเตรียมอุดมศึกษา ถือเป็น การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการก� ำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ๓. กลยุทธ์การท� ำหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐสิงคโปร์คือ การก� ำหนดนโยบาย การศึกษาที่เป็นผลจากงานวิจัยของ NIE แล้วน� ำนโยบายไปปฏิบัติในระดับสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ จัดงบประมาณสนับสนุน NIE และสถานศึกษาอย่างเพียงพออีกทั้งให้สถานศึกษามีอิสระในการบริหารงาน ภายใต้นโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปคุณลักษณะครูสิงคโปร์ที่พึงประสงค์ กระทรวง ศึกษาธิการสิงคโปร์ทราบดีว่าคุณภาพการศึกษาอนาคตของนักเรียนและอนาคตของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาเป็นส� ำคัญ กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์จึงให้สถานศึกษามีบทบาทในการจัดการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=