สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กลยุทธ์การจั ดการศึ กษาขั้ นพื้ นฐานของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ 274 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 นอกจากการอบรมด้านวิชาการแล้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ทางการศึกษา “Teaching Less, Learning More” ที่หลักสูตรใหม่นี้ได้ลดเนื้อหาการสอนในแต่ละวิชาลง เปลี่ยนบทบาทของครูจากการเป็น ศูนย์กลางของห้องเรียนมาเป็นผู้กระตุ้นสนับสนุนและอ� ำนวยความสะดวกในห้องเรียน จัดตั้งเครือข่าย ชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพ (Professional Learning Communities: PLCs) ท� ำให้ครูมีเวลา ว่างเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๑๐-๒๐ เรียกว่า “White Space” ซึ่งครูสามารถน� ำเวลาเหล่านี้ไปค้นคว้า ทดลอง การเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับนักเรียนของตนได้มากขึ้น และการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครู (Teacher Development Center: TDC) ให้เป็นพื้นที่ส� ำหรับครูในการรวบรวมผลงานและท� ำงานร่วมกัน เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาลได้ก� ำหนดให้ครูใช้เวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในการวางแผนการสอน และอีก ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการสะท้อนและอภิปราย แผนการสอนของตนร่วมกับทีม ในด้านการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษา ปัจจุบัน รัฐบาลได้เริ่มให้อ� ำนาจแก่โรงเรียน มากขึ้น โดยการให้โรงเรียนมีอิสระในการบริหารงานบุคคลด้วยตนเอง เช่น อนุญาตให้โรงเรียนจ้าง บุคลากรชั่วคราวได้ในยามเร่งด่วน จัดจ้างต� ำแหน่งที่เกี่ยวกับธุรการและครูได้ อนุญาตให้มีการเพิ่ม ต� ำแหน่งที่ เรียกว่า ผู้บริหารแผนการเรียนร่วม (Co-Curricular Program Executives: CCPE) เพื่อ ช่วยแบ่งเบาภาระงานในส่วนของครูเพื่อให้ครูมีเวลาในการเตรียมการสอนที่มากขึ้น นโยบายต่าง ๆ ที่ออกมาในภายหลังช่วยให้โรงเรียนสามารถท� ำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้นแต่ยังคงต้องอยู่ในขอบเขตที่ กระทรวงศึกษาธิการก� ำหนด เพื่อให้ทิศทางของระบบการศึกษาส� ำหรับเตรียมการในการเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นไปตาม ที่รัฐบาลก� ำหนดไว้ในคุณลักษณะของกระบวนการเรียนรู้และผลลัพธ์ของนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ NIE ได้สร้างแบบจ� ำลองในการพัฒนาหลักสูตรครูเพื่อสร้างนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ และข้อเสนอแนะ ๖ กลุ่ม ดังแผนภาพต่อไปนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=