สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 273 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ส� ำหรับเกณฑ์ในการรับครูเข้าเป็นข้าราชการ จะคัดเลือกจากนักศึกษาครูที่จบด้วยคะแนน สูงสุดร้อยละ ๓๓ ของแต่ละรุ่น ครูทุกระดับชั้นต้องจบตรงสาขาวิชาที่สอน ครูประมาณร้อยละ ๑๐-๑๕ ที่ได้รับบรรจุในทุก ๆ ปี จะได้รับทุนการศึกษาและรางวัลอันเป็นเครื่องแสดงถึงความสามารถที่เป็นผลให้ ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า ครูทุกคนต้องผ่านการสัมภาษณ์และคัดเลือกจากคณะครูใหญ่ผู้มีประสบการณ์ ครูที่จบใหม่ต้องเข้าโปรแกรมเพื่อฝึกหัดการสอนโดย National Institute of Education (NIE) และ ในขณะที่เข้ารับการอบรมระหว่างเป็นครูฝึกหัดจะได้รับเงินเดือนที่สูงอีกด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอโครงการเพื่อเข้าไปจัดการดูแลวิชาชีพครู ที่เรียกว่า แผนการ พัฒนาวิชาชีพและความก้าวหน้าในอาชีพ (Education Service Professional Development and Career Plan: EduPac) ตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๐๑ โครงการนี้เปิดโอกาสให้ครูได้เห็นช่องทางการเจริญเติบโต ในสายอาชีพของตนที่ ๓ เส้นทางไม่ว่าจะเป็น ๑) สายการสอน ๒) สายการบริหาร หรือ ๓) ผู้ช� ำนาญ การด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีระบบสวัสดิการที่ดีเมื่อครูด� ำรงต� ำแหน่งที่สูงขึ้น อาทิ ครูใหญ่ที่ท� ำงานครบ ๖ ปี จะมีสิทธิได้ลาพักร้อนนานถึง ๒ เดือน ที่มีนโยบายเช่นนี้ เพื่อมิให้ครูต้องเปรียบเทียบกับการท� ำงานสายอาชีพ อื่นที่ได้รับเงินเดือนสูงทันทีที่เรียนจบ แสดงให้เห็นถึงการให้ความส� ำคัญกับวิชาชีพครูที่ถือเป็นวิชาชีพชั้นสูง อย่างแท้จริงในสิงคโปร์ และป้องกันปัญหาสมองไหลไปสู่อาชีพอื่น ๆ ในส่วนของการให้ค่าตอบแทนครู สิงคโปร์จะพิจารณาจากผลงาน (Performance-based Compensation) ซึ่งช่วยให้ครูมีก� ำลังใจในการท� ำผลงานให้ดีอย่างสม�่ ำเสมอด้วยการดูแลครูที่ดี ต่างกับ ประเทศส่วนใหญ่มักวัดผลงานจากอายุงาน (Seniority-based Compensation) ด้านการพัฒนาครู สิงคโปร์ก� ำหนดให้ในแต่ละปี ครูในระบบทุกคนต้องเข้ารับการอบรม อย่างต่อเนื่องไม่ต�่ ำกว่า ๑๐๐ ชั่วโมง รวมถึงบุคลากรทางการศึกษาทุกคนก็ต้องได้รับการอบรมด้วยเช่น กัน โดยมีการวางแผนการอบรมให้แต่ละคนอย่างต่อเนื่องโดยเชื่อว่า ครูที่ผ่านการอบรมยิ่งมาก ก็ยิ่ง สามารถสะสมองค์ความรู้และพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น จึงท� ำให้ครูที่ผ่านการอบรมมากก็ยิ่งมีโอกาสที่เจริญ ก้าวหน้าในสายวิชาชีพมากขึ้น โดยรัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานและองค์กรเพื่อเข้ามาให้ความช่วยเหลือครู และบุคลากรในสายการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น มีการจัดตั้ง Academy of Singapore Teachers เข้ามาเพื่อช่วยยกระดับความเป็นมืออาชีพทางการศึกษาด้านต่าง ๆ แก่ครู มีการจัดตั้งสถาบันครูพลศึกษา และกีฬา (Physical Education and Sports Teacher Academy: PESTA) จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ ของครูด้านศิลปะ (Singapore Teacher’s Academy for the Arts: STAR) จัดตั้งสถาบันภาษา อังกฤษแห่งสิงคโปร์ (English Language Institute of Singapore: ELIS) เพื่อเข้ามาช่วยเรื่อง ความสามารถทางภาษาอังกฤษของครู
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=