สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กลยุทธ์การจั ดการศึ กษาขั้ นพื้ นฐานของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ 272 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 บทบาทของครูในระบบการศึกษา ระบบการศึกษาสิงคโปร์ มีกลยุทธ์เยี่ยมยอดในการดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นครู ในระบบ เริ่มตั้งแต่การให้การศึกษาตามหลักสูตรของ National Institute of Education (NIE) ซึ่งเป็น สถาบันหนึ่งใน Nanyang Technological University (NTU) ที่ให้การศึกษาทางด้านวิชาชีพครูในทุก ระดับ ตั้งแต่หลักสูตรการเตรียมความพร้อมในการเป็นครู จนถึงหลักสูตรการบริหารงานสถาบันการศึกษา ใน ค.ศ. ๒๐๑๓ NIE ได้รับการจัดอันดับจาก QS World University Ranking ด้านการศึกษา เป็นอันดับ ที่ ๑๐ ของโลก และอันดับที่ ๒ ของเอเชีย นอกจากนี้ NIE ยังเป็นหน่วยงานหลักในการท� ำวิจัยด้านการ ศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อคิดค้นวิธีการในการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่า ระบบการศึกษาของสิงคโปร์มีการประสานงานกันในการท� ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่าง ๑) กระทรวงศึกษาธิการที่ท� ำหน้าที่ในการออกแบบนโยบาย ๒) NIE ที่ท� ำหน้าที่ในการฝึกสอนครู และท� ำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน และ ๓) โรงเรียน นักวิจัยของ NIE จะแจ้งผลที่ได้จากการวิจัย จากการใช้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการให้กระทรวงทราบเพื่อน� ำไปปรับปรุงและพัฒนา ในขณะ เดียวกัน NIE จะรับนโยบายและทิศทางในการศึกษาที่รัฐบาลต้องการมาวางหลักสูตรเพื่อฝึกสอนวิชาชีพครู จากนั้นจะส่งต่อผู้ส� ำเร็จการศึกษาเข้าสู่ระบบการคัดเลือกครูเป็นข้าราชการ แผนภาพที่ ๔ แบบจ� ำลองพันธมิตรหลักในการพัฒนาหลักสูตรครู ที่มา : A Teacher Education Model for the 21 century, National Institute of Education, Singapore
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=