สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กลยุทธ์การจั ดการศึ กษาขั้ นพื้ นฐานของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ 268 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 เป็นการรวมกลุ่มตามแนวดิ่ง (Vertical Cluster) แต่ละกลุ่มจะมีการเลือกหัวหน้า (Cluster Superin- tendent) จากผู้บริหารโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์ เพื่อท� ำหน้าที่ประสานงานและก� ำหนดทิศทาง การบริหารจัดการให้แก่โรงเรียนในกลุ่ม โดยรัฐได้จัดสรรงบประมาณรายปีโดยตรงให้แก่หัวหน้ากลุ่ม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพัฒนา ดูแล ช่วยเหลือ และแนะน� ำโรงเรียนในกลุ่ม โดยรัฐบาลจะประเมิน ความสามารถและประสิทธิผลของหัวหน้ากลุ่มว่ามีสมรรถภาพเช่นไร ใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ หากเป็นไปด้วยดีรัฐก็จะมอบอ� ำนาจความรับผิดชอบให้หัวหน้ากลุ่มมากขึ้น พร้อมให้อ� ำนาจ ในการปกครองดูแลโรงเรียนของหัวหน้ากลุ่มเองได้อย่างมีอิสระกว่าโรงเรียนอื่น ๆ ในท้ายที่สุด ระดับสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นหน่วยงานย่อยที่สุดในการจัดการศึกษาที่มีระดับอิสระ ในการจัดการต่างกัน หากเป็นโรงเรียนแบบอิสระ (Independent Schools) และโรงเรียนในก� ำกับของรัฐ (Autonomous School) จะมีอิสระในการดูแลเรื่องการบริหารจัดการบุคลากร การเงิน และวิชาการ บางส่วน เช่น การเลือกแบบเรียน ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนมากกว่า โรงเรียนอื่น โดยโรงเรียนเหล่านี้ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนขึ้นโดยได้รับการอนุมัติ จากกระทรวงศึกษาธิการ สิงคโปร์มีระบบการประเมินการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยกระทรวง ศึกษาธิการ มีการให้รางวัลแก่โรงเรียนที่มีการพัฒนาในเรื่องของการบริหารจัดการให้ได้สมดุลของโครงสร้าง และความโปร่งใส การมีครูและผู้บริหารโรงเรียนที่ดี ดังแสดงในแผนภาพที่ ๑ และ ๒ ที่มา : Ministry of Education, Singapore แผนภาพที่ ๑ แผนแม่บทการให้รางวัลแก่โรงเรียนในสิงคโปร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=