สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 267 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ โครงสร้างการปฏิบัติงานในกระทรวงศึกษาธิการแบ่งออกเป็น ๔ ฝ่ายหลัก ๆ คือ ๑) ฝ่ายจัดการการศึกษา (Professional Wings) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้าน วิชาการ ได้แก่ กรมสถาบันฝึกอบรมครู กรมวางแผนและพัฒนาหลักสูตร กรมโปรแกรมการเรียนการสอน กรมบริการการศึกษา กรมเทคโนโลยีการศึกษา และกรมโรงเรียน ๒) ฝ่ายนโยบาย (Policy Wings) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนโยบายการศึกษา ได้แก่ กรมวิจัยวิชาการ กรมสื่อสารในองค์กร กรมปฏิบัติการอุดมศึกษา กรมนโยบายอุดมศึกษา กรมวางแผน กรมพัฒนาทักษะอนาคต และกรมพัฒนาหลักสูตรนักเรียน ๓) ฝ่ายบริการและสนับสนุน (Service Wings) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านงานบริการ ด้านการศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ กรมการเงินและพัฒนา กรมข้อมูลและเทคโนโลยี กรมบุคลากร กรมพัฒนา องค์กร และกรมวางแผนโรงเรียน ๔) ฝ่ายตรวจสอบภายใน (Internal Audit) เป็นองค์กรอิสระที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ ท� ำหน้าที่ตรวจสอบการเงินและการปฏิบัติการ เพื่อรับรองคุณภาพของระบบการบริหารจัดการภายใน และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานการศึกษา นอกจากโครงสร้างและหน้าที่การปฏิบัติงานดังที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้จัดตั้งคณะ กรรมการแห่งชาติที่จัดตั้งตามกฎหมาย (Statutory Board) อีก ๑๐ คณะ เช่น สภาการศึกษาเอกชน ศูนย์วิทยาศาสตร์สิงคโปร์ สถาบันเทคนิคศึกษา คณะกรรมการประเมินผลและทดสอบแห่งชาติสิงคโปร์ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อท� ำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐบาลในการสนับสนุนการก� ำหนดนโยบายของ ภาครัฐ และก� ำกับดูแลการศึกษา โดยมีจุดเด่นคือ ความเป็นอิสระ มีความยืดหยุ่น และมีอ� ำนาจในการ ด� ำเนินงาน ท� ำให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งยังได้รับมุมมองทางด้านการศึกษาที่หลากหลายจากการที่คณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ นอกจากการก� ำกับดูแลและบริหารนโยบายการศึกษาไปสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ แล้วสิงคโปร์ยังมีการบริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา (Zonal branch) ที่ได้รับการมอบอ� ำนาจ ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกลุ่มโรงเรียน (School Clusters) ที่อยู่ในเขตเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาล ได้ตั้งขึ้น และระดับกลุ่มโรงเรียน (School Clusters) ที่เกิดจากการรวมกลุ่มหลายโรงเรียนเข้าด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านวิชาการและทิศทางในการพัฒนาบริหารจัดการ โรงเรียน ปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มทั้งสิ้น ๒๘ กลุ่มครอบคลุมทุกโรงเรียนในประเทศ แต่ละกลุ่มมีโรงเรียน ในเครือข่ายประมาณ ๑๐-๑๔ โรง บางกลุ่มก็ประกอบด้วยโรงเรียนระดับแนวราบ (Horizontal Cluster) ซึ่งจะเป็นกลุ่มโรงเรียนในระดับเดียวกันทั้งหมด และบางกลุ่มก็ประกอบด้วยโรงเรียนหลาย ๆ ระดับมารวมกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=