สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 261 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เป้าประสงค์ในการเรียนรู้ที่คาดหวัง (The Desired Outcomes of Education (DOE) มี ๘ ด้านในแต่ละระดับการศึกษาตามวิสัยทัศน์ “Thinking school, Learning Nation” เป็นเป้าประสงค์ที่ รัฐบาลได้ก� ำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรและวิธีการสอน อีกทั้งยังสามารถประเมิน คุณภาพของระบบการสอนได้อีกด้วย ในด้านการบริหารโรงเรียน ได้เปลี่ยนระบบการบริหารงานจากเดิมที่บริหารงานแบบรวมศูนย์ จากบนลงล่างและมีการรวมกลุ่มเป็น Cluster ตามสถานที่ตั้งที่มีการดูแลควบคุมกันภายในกลุ่ม เปลี่ยน เป็นการบริหารงานแบบ Cluster Superintendents–Successful Former Principals มีการจ้างผู้บริหารงาน ที่เคยเป็นครูใหญ่หรือผู้อ� ำนวยการเขตมาบริหารกลุ่มโรงเรียนเพื่อให้เกิดความโปร่งใส แต่ละโรงเรียนจะมี การตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทของตน โดยจะมีการประเมินคุณภาพโรงเรียนจากรัฐบาลทุก ๆ ๖ ปี ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับเตรียมอุดมศึกษา มีความสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่าง ๆ มีความสร้างสรรค์และสนใจ ใคร่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ในเชิงนวัตกรรม และจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ มีความสามารถในการคิดและ แสดงออกอย่างเชื่อมั่น รู้คุณค่าของความคิดเห็นที่ แตกต่าง และสามารถสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารที่โน้มน้าวเชิญชวนให้ เห็นตาม ภาคภูมิใจในงานของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ ของตนเอง มีความตั้งมั่นในการแสวงหาความ เป็นเลิศ มีสุขนิสัยที่ดีและรักศิลปะ สนุกกับการออกกำ �ลังกาย และสุนทรีย์กับงานศิลปะ มีรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี และเห็นคุณค่าของการกีฬา รู้จักและรักสิงคโปร์ เชื่อมั่นในสิงคโปร์และเข้าใจ ว่าอะไรสำ �คัญสำ �หรับสิงคโปร์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาว สิงคโปร์และเข้าใจในความสัมพันธ์ ของสิงคโปร์กับต่างประเทศ ตารางที่ ๑ แสดงเป้าประสงค์ในการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละระดับการศึกษาของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (ต่อ) ที่มา : http://www.moe.gov.sg/education/desired-outcomes/

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=