สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 259 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ มีเวลามากขึ้นในการเรียนให้ส� ำเร็จในแต่ละระดับ โดยในการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีแนวทางหลัก ๓ แบบ คือ ๑) แบบมัธยมที่เน้นวิชาการ ซึ่งเตรียมพร้อมผู้เรียนเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒) แบบโพลีเทคนิค ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการประกอบวิชาชีพ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่การศึกษาจากวิทยาลัยเฉพาะทาง ๓) แบบสถาบันเทคนิค ที่มุ่งพัฒนาทักษะและความรู้ในการประกอบอาชีพส� ำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียน กลุ่มท้าย นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ก่อตั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรแห่งชาติ เพื่อท� ำหน้าที่ในการผลิต ต� ำรา แบบเรียน และแบบก� ำกับการสอน ที่มีคุณภาพสูงส� ำหรับระบบการศึกษาที่มีแนวทางหลากหลาย ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ก่อตั้งสถาบันส� ำหรับการศึกษาเชิงเทคนิค (The Institu- tion for Technical Education: ITE) ด้วยเงินงบประมาณมหาศาล เพื่อท� ำหน้าที่ในการสร้างและ พัฒนาการศึกษาสายอาชีพทางเทคนิคที่มีคุณภาพสูง ด้วยอุปกรณ์ สาธารณูปโภคชั้นน� ำที่ทันสมัยและ ครบครันเทียบเคียงได้กับสถาบันการศึกษาชั้นน� ำในสหรัฐอเมริกา ยุโรป นอกจากนี้ในแต่ละสาขาวิชาชีพ ยังได้รับค� ำแนะน� ำในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากบริษัทต่างชาติชั้นน� ำที่เข้ามาตั้งโรงงานและสาขาใน สาธารณรัฐสิงคโปร์ ท� ำให้คุณภาพของผู้จบการศึกษาแบบสถาบันเทคนิคมีคุณภาพสูง และผู้เรียนที่ท� ำ คะแนนได้ดียังมีโอกาสที่จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้อีกด้วย ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของการเรียนแบบ สถาบันเทคนิคเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก รวมทั้งมีการขยายตัวของมหาวิทยาลัยและสถาบันเทคนิค เพื่อเพิ่มก� ำลังการผลิตนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปการศึกษาที่เกิดขึ้นส่งผลให้อัตราการออกกลางคันลดลงอย่างมีนัยส� ำคัญ ใน ค.ศ. ๑๙๘๔ อัตราการสอบผ่าน O level Examination เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ ๙๐ และใน ค.ศ. ๑๙๙๕ นักเรียนจากสิงคโปร์มีคะแนนน� ำนักเรียนจากทั่วโลกในการสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของ TIMSS ช่วงการพัฒนาตามพื้นฐานความสามารถและแรงบันดาลใจ (ค.ศ. ๑๙๙๗-ปัจจุบัน) จาก วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ใน ค.ศ. ๑๙๙๗ เศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้ความเป็นโลกาภิวัตน์ รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อ สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ รัฐบาลได้ประกาศโครงการประเทศแห่งการศึกษา (National Education) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสัญชาตญาณการอยู่รอดและการเผชิญหน้ากับอนาคตอย่างมีความเชื่อมั่น ซึ่งโครงการนี้มุ่งบ่มเพาะคุณลักษณะความเป็นคนสิงคโปร์ที่เข้าใจรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ มีความ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต อันจะน� ำไปสู่คุณค่าหลักของสิงคโปร์ ที่ประสบความส� ำเร็จและประชาชนมีความกินดีอยู่ดี โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนที่สร้างนวัตกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=