สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กลยุทธ์การจั ดการศึ กษาขั้ นพื้ นฐานของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ 258 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 นโยบายขยายฐานภาคการผลิตอุตสาหกรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งออกเนื่องจากตลาดภายในประเทศ มีขนาดเล็กมาก จึงเกิดอุปสงค์ความต้องการแรงงานที่มีทักษะต�่ ำจากโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ โรงงาน สิ่งทอ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในช่วงนั้น นอกจากนั้นในช่วงเวลานี้ การศึกษาของสิงคโปร์กระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มชนชั้นสูงที่ร�่ ำรวย ในขณะที่ประชากรสิงคโปร์อีกกว่า ๒ ล้านคนไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ และไร้ทักษะทางวิชาชีพ รัฐบาล จึงมีความประสงค์ที่จะขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปให้ได้อย่างรวดเร็วและแพร่หลายมากที่สุด จึงได้สร้าง โรงเรียน และจ้างครูจ� ำนวนมาก รวมทั้งได้มีการรวบรวมโรงเรียนที่ก่อตั้งจากศาสนา หรือกลุ่มเชื้อชาติ ต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันในระบบการศึกษาของสิงคโปร์ และเริ่มนโยบายการศึกษาแบบสองภาษา คือ ภาษาตามเชื้อชาติ (ภาษาแม่) และภาษาอังกฤษ มีการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อท� ำหน้าที่ในการเขียนต� ำรา และแบบเรียน รัฐบาลได้วางรากฐานการศึกษาขั้นปฐมวัยที่เป็นแบบแผนเดียวกันใน ค.ศ. ๑๙๖๕ และ การศึกษาระดับมัธยมต้นในต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ และในปลายช่วงแรงขับเคลื่อนเพื่อการอยู่รอด สิงคโปร์ จึงสามารถวางระบบการศึกษาให้แก่ประชาชนได้ส� ำเร็จ อย่างไรก็ตาม คุณภาพของการศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ยังไม่ดีนัก จากสถิติ พบว่า ในช่วงต้น ทศวรรษ ๑๙๗๐ ระยะเวลา ๑๐ ปี มีนักเรียนเพียงร้อยละ ๔๕ ที่สามารถผ่านการศึกษาจากระดับ ประถมต้นไปสู่ระดับประถมปลาย และมีเพียงร้อยละ ๓๕ ที่สามารถสอบผ่าน O level Examination นอกจากนี้ ทุก ๆ ปีสิงคโปร์ยังขาดแคลนวิศวกรและแรงงานฝีมือจ� ำนวน ๕๐๐ และ ๑,๐๐๐ คน ตามล� ำดับ (ระหว่างช่วง ค.ศ. ๑๙๗๐-๑๙๗๕) ใน ค.ศ. ๑๙๗๓ ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตการณ์ราคาน�้ ำมัน และการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานไร้ทักษะเข้มข้นในประเทศภูมิภาคเอเชียทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์พิจารณา แนวทางใหม่ในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วยการมุ่งไปสู่เศรษฐกิจที่ใช้แรงงานทักษะสูง น� ำไปสู่ การปฏิรูประบบการศึกษาในช่วงเวลาต่อมา ช่วงการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ (ค.ศ. ๑๙๗๙-๑๙๙๖) รัฐบาลสิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะ พัฒนาประเทศจากประเทศในกลุ่มก� ำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วที่ใช้ปัจจัยทุนและแรงงานทักษะสูง เป็นรากฐานของภาคการผลิต ดังนั้นใน ค.ศ. ๑๙๗๙ สิงคโปร์ได้ปฏิรูประบบการศึกษาจากเดิมที่มีแบบแผน การศึกษาเพียงแบบเดียวส� ำหรับประชาชน (One-Size-Fits-All Approach) มาเป็นระบบการศึกษาที่มี แนวทางการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งสามารถลดอัตราการ การออกกลางคัน (drop out) มีคุณภาพ การศึกษาที่ดีขึ้น และมีแนวทางในการพัฒนาทักษะทางเทคนิคของผู้เรียนเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับ ฐานการผลิตทางเศรษฐกิจ ด้วยระบบการศึกษาที่มีแนวทางที่หลากหลาย ผู้เรียนจะมีความยืดหยุ่นและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=