สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 257 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ (community Development Councils) เพื่อดูแลในเขตต่าง ๆ ประกอบด้วยเทศบาลภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ การปกครองให้อิสรภาพในลักษณะที่จ� ำกัด คือ มีการใช้อ� ำนาจของรัฐอย่างเด็ดขาดในการ ควบคุม สิทธิเสรีภาพของพลเมืองอย่างเข้มข้นโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ แต่ใช้ผ่าน กลไกชนิดต่าง ๆ เช่น การครอบง� ำทางอุดมการณ์ แนวคิดเรื่อง ประชาคมนิยม (Communitarianism) ที่เชิดชูความเป็นชาติเหนือกว่าปัจเจกบุคคลเพื่อรณรงค์เรื่องความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวและความมั่นคง ของรัฐและให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ สิงคโปร์เป็นประเทศพหุวัฒนธรรมที่อยู่กันอย่างกลมเกลียวและสันติ อันเป็นแนวคิดใน การสร้างสาธารณรัฐสิงคโปร์ของ ลี กวน ยู ในการหล่อหลอมให้คนในชาติยอมรับการเป็นพหุสังคม ถือเป็นจุดแข็งและผลงานเด่นอย่างหนึ่งของ ลี กวน ยู และน� ำไปสู่การเป็นชาติที่มีความมั่นคงเป็น ปึกแผ่น มีเสถียรภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งทั้งในเชิงสังคม และการเมือง ทั้ง ๆ ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนดินแดนที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นของตัวเองเลย จนบัดนี้รัฐบาลและผู้น� ำชุมชนของสิงคโปร์ รุ่นต่อ ๆ มาก็ยังสานต่อยึดมั่นในแนวคิดของ ลี กวน ยู เรื่องพหุสังคม จะเห็นได้ว่าสิงคโปร์ซึ่งมีอดีต ผู้น� ำที่มากด้วยภูมิปัญญามองการณ์ไกล สามารถน� ำพาประเทศและประชาชนไปสู่ความรุ่งเรือง สงบสุข แม้ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มร้อยละ ๑๐๐ แต่ปกครองประเทศด้วยภูมิปัญญา เปี่ยมวุฒิภาวะ และ มีคุณธรรม (นงนุช สิงหะเดชะ : ๒๕๕๙) ความเป็นมาของระบบการศึกษาของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประวัติศาสตร์การศึกษาของสาธารณรัฐสิงคโปร์ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงเวลา ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ช่วงแรงขับเคลื่อนเพื่อการอยู่รอด (ค.ศ. ๑๙๕๙-๑๙๗๘) หลังจากการแบ่งแยกจาก ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ก็เหมือนประเทศอื่น ๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราช- อาณาจักรไม่ได้ให้ความส� ำคัญมากนักเมื่อเป็นเมืองขึ้น สหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนสิงคโปร์จากหมู่บ้าน หาปลาบนเกาะเล็ก ๆ เป็นเมืองท่า เมื่อสิงคโปร์เป็นอิสระ ได้มีการเริ่มต้นการวางรากฐานการศึกษารัฐบาล สิงคโปร์ภายใต้การน� ำของนายลี กวน ยู รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษา “Produce a Good Man and a Useful Citizen” เนื่องจากในขณะนั้นสาธารณรัฐสิงคโปร์มีผลิตผล ทางเศรษฐกิจร้อยละ ๗๐ อยู่บนพื้นฐานการขนส่งผ่านท่าเรือและโกดังเก็บสินค้า ซึ่งไม่เพียงพอต่อการ เจริญเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน ในขณะที่อัตราการเกิดของประชากรและการว่างงานที่สูง รัฐบาลจึงมี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=