สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ และจิ ราทั ศน์ รั ตนมณี ฉั ตร 255 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ค� ำน� ำ ในบทความนี้ได้สกัดมาจากผลงานวิจัยเกี่ยวกับระบบการติดตามและประเมินผลการจัดการ ศึกษาและมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ พบว่า การจัด การศึกษาของประเทศสิงคโปร์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุด ในโลก และเป็นแบบอย่างที่ดีน่าศึกษาและเรียนรู้ ทั้งนี้ยืนยันได้จากผลการประเมิน (PISA) ค.ศ. ๒๐๑๕ พบว่าสิงคโปร์มีคะแนนการประเมินด้านคณิตศาสตร์เป็นอันดับ ๒ ของโลก (๕๗๓ คะแนน) การประเมิน ด้านการอ่าน เป็นอันดับ ๓ ของโลก (๕๔๒ คะแนน) และการประเมินด้านวิทยาศาสตร์เป็นอันดับ ๓ ของโลก (๕๕๑ คะแนน) ในปีเดียวกัน (OECD) ได้ท� ำการประเมินจัดอันดับโรงเรียนจากคะแนนด้าน คณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียน จาก ๗๖ ประเทศ พบว่า ๕ อันดับแรก เป็นของประเทศ ในทวีปเอเชีย โดยสิงคโปร์ได้คะแนนเป็นอันดับ ๑ ตามมาด้วยฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่นอยู่ใน ล� ำดับที่ ๔ เท่ากัน (Coughlan, 2015) แสดงให้เห็นถึงระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ที่สามารถสร้าง ให้ผู้เรียนมีความสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ได้ในระดับแนวหน้าของ โลก อันแสดงถึงการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของแรงงานสิงคโปร์ให้มีความพร้อมต่อความต้องการ ของตลาดแรงงานในระบบเศรษฐกิจโลก บทความนี้จึงประสงค์ที่จะศึกษาและน� ำเสนอกลยุทธ์ในการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศสิงคโปร์ที่อาจเป็นกระจกส่องการศึกษาไทยในการที่จะปฏิรูปการศึกษา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนและการเรียนรู้เป็นการปฏิรูปการศึกษาเพื่อผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของ กฎหมายการศึกษาของชาติอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยอาจไม่จ� ำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ก็เป็นได้ ค� ำนิยามส� ำคัญ กลยุทธ์ หมายถึง กุศโลบายในการท� ำงานจัดกิจกรรมแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ โดยก� ำหนด แผนการที่จะท� ำอย่างสุขุมรอบคอบ ก� ำหนดล� ำดับขั้นตอนของการกระท� ำให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ตระหนักถึงปัจจัยแทรกซ้อนมุ่งให้สิ่งที่จะท� ำประสบความส� ำเร็จตามวัตถุประสงค์ และสามารถเอาชนะ คู่แข่งขันได้ (พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน : ๒๕๕๕) ในการพัฒนากลยุทธ์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ๕ ขั้นตอนคือ ๑) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเพื่อระบุ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ๒) การก� ำหนดทิศทางขององค์การในรูปวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าประสงค์ และวัตถุประสงค์ ๓) การก� ำหนดกลยุทธ์ทั้งประเภทและระดับต่าง ๆ แล้วคัดเลือก กลยุทธ์ที่เหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถน� ำไปใช้ได้จริง ๔) การด� ำเนินกลยุทธ์โดยการจัดท� ำ แผนที่กลยุทธ์ การจัดท� ำแผนปฏิบัติการและการกระจายแผนกลยุทธ์สู่ปฏิบัติ และ ๕) การก� ำกับติดตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=