สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 กลยุทธ์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสาธารณรัฐสิงคโปร์ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ๑ ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร ๒ ๑ ศาสตราจารย์กิตติคุณ และราชบัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์ทางสารัตถะ ๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทคัดย่อ บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อน� ำเสนอระบบการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสาธารณรัฐสิงคโปร์ และกลยุทธ์ที่ท� ำให้สาธารณรัฐสิงคโปร์ประสบความส� ำเร็จใน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนได้น� ำเสนอสัณฐานของประเทศและระบบการศึกษาโดยเฉพาะระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศสิงคโปร์แล้วสามารถสรุปได้ว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับ การยอมรับว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก และประสบความส� ำเร็จในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อันเนื่องมาจากกลยุทธ์ ๑๒ ประการ คือ ๑) การใช้มาตรฐานระดับนานาชาติ ๒) การศึกษาขั้นพื้นฐานตาม มาตรฐานชาติในรูปมาตรฐานผู้เรียน ๓) การท� ำหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ๔) การก� ำหนด วิสัยทัศน์และนโยบายที่โดนใจ ๕) การลงทุนทางการศึกษา ๖) การพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพ ชั้นสูงอย่างแท้จริง ๗) การบริหารจัดการคุรุศึกษาเพื่อชาติ ๘) การประกันคุณภาพโดยการให้รางวัล และการเป็นที่ยอมรับ ๙) การสร้างดุลยภาพระหว่างภาวะเสรีกับความรับผิดรับชอบของสถานศึกษา ๑๐) High-stake Testing ๑๑) การออกแบบระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อผู้เรียน และ ๑๒) การให้ เวลาเรียนกับวิชาส� ำคัญ ค� ำส� ำคัญ : กลยุทธ์, ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สาธารณรัฐสิงคโปร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=