สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
243 ศั กดา ธนิ ตกุล วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ อนุบัญญัติของเอ็นดีอาร์ซี เรื่อง Anti-Price Monopoly ระบุว่าการใช้ “ส่วนลดพิเศษให้ กับคู่ค้าที่จงรักภักดี (loyalty discount) เพื่อชักจูงทางอ้อมให้คู่ค้าท� ำธุรกิจกับตนเท่านั้นไม่ให้ไปท� ำธุรกิจ กับคู่แข่งก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของอนุบัญญัติข้างต้นด้วย ข้อยกเว้นว่าให้กระท� ำ exclusive dealing ได้ เป็นไปตามอนุบัญญัติเรื่องเดียวกันข้าง ต้นของเอ็นดีอาร์ซี ได้แก่สถานการณ์ดังนี้ Exclusive dealing ท� ำไปเพื่อประกันคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า Exclusive dealing ท� ำไปเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของยี่ห้อสินค้า หรือปรับปรุงคุณภาพ ของการบริการให้สูงขึ้น Exclusive dealing ท� ำไปเพื่อลดต้นทุนหรือปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งผลประโยชน์ ดังกล่าวจะตกอยู่กับผู้บริโภค เหตุผลอื่น ๆ ที่รับฟังได้ (๕) การขายควบหรือเงื่อนไขทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมอื่น ๆ (Tying and Imposing Other Unreasonable Trading Conditions) มาตรา ๑๗(๕) ของเอเอ็มแอลห้ามผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้ขายควบหรือก� ำหนดเงื่อนไข ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมอื่นให้คู่ค้าต้อนรับโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร มาตรา ๖ ของอนุบัญญัติของเอสเอไอซี เรื่อง the Prohibition of Abuses of Domi- nance ก� ำหนดสถานการณ์ ๔ แบบดังนี้ว่าเป็นการขายควบหรือพฤติกรรมก� ำหนดเงื่อนไขทางการค้าโดย ไม่เป็นธรรม บังคับขายควบหรือขายพ่วงสินค้า โดยฝ่าฝืนธรรมเนียมทางการค้าหรือพฤติกรรมของ ผู้บริโภค หรือไม่ค� ำนึงถึงการท� ำงานของสินค้า บังคับให้คู่ค้าต้องรับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม วิธีการช� ำระเงิน การขนส่งสินค้า วิธีการ ส่งมอบ และวิธีการส่งมอบการบริการ เป็นต้น บังคับให้คู่ค้าต้องรับข้อสัญญาจ� ำกัดเขตการขาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และบริการหลังขาย บังคับให้คู่ค้าต้องรับเงื่อนไขซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ท� ำเลย (๖) การเลือกปฏิบัติ รวมถึงการตั้งราคาที่แตกต่างกัน (Discriminatory Treatment, Including Price Discrimination) มาตรา ๑๗(๖) ของเอเอ็มแอลห้ามผู้ประกอบธุรกิจที่มีอ� ำนาจเหนือตลาดเลือกปฏิบัติ เกี่ยวกับเงื่อนไขการท� ำธุรกิจ เช่น ราคา โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=