สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กฎหมายแข่งขั นทางการค้าในประเทศจี น 238 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 (ข) พฤติกรรมการตกลงร่วมกันจ� ำกัดการแข่งขันในแนวดิ่ง (Vertical Monopoly Agreement) (๑) การรักษาระดับราคาขายต่อ (Resale Price Maintenance) มาตรา ๑๔ ของ เอเอ็มแอลบัญญัติถึงการตกลงร่วมกันจ� ำกัดการแข่งขันในแนวดิ่ง ซึ่งห้ามการร่วมกันก� ำหนดราคาขายส่ง แก่บุคคลที่ ๓ จ� ำกัดเรื่องราคาขั้นต�่ ำที่จะขายให้แก่บุคคลที่ ๓ ในสหภาพยุโรปการก� ำหนดราคาขายต่อและการก� ำหนดราคาขั้นต�่ ำในการขายต่อ ถือว่าเป็นความผิดเนื่องจากเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันที่ชัดเจน ในสหรัฐอเมริกา ศาลฎีกาของ สหรัฐอเมริกาตัดสินใน ค.ศ. ๒๐๐๗ ว่าการก� ำหนดราคาขายต่อขั้นต�่ ำต้องใช้หลักเหตุผล (the rule of reason) พิจารณา (คดี Leegin creative Leather Products, Inc. vs. PSKS, Inc., 2007) และการ ก� ำหนดราคาขายต่อขั้นสูงก็ต้องใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหมือนกัน (คดี State Oil vs. Khan, 1997) แต่ ทั้งในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ศาลจะถือว่าการใช้ราคาแนะน� ำ (recom- mended resale price) โดยผู้ขายไม่มีการลงโทษหรือขู่ว่าจะลงโทษผู้ขายต่อไม่เป็นความผิด แต่อนุบัญญัติของเอ็นดีอาร์ซี มีบทบัญญัติห้ามการรักษาระดับราคาขายต่อ แต่ไม่มี ค� ำอธิบายให้ชัดเจน ดังนั้นจึงต้องติดตามแนวทางการบังคับใช้มาตรา ๑๔ นี้ต่อไป (๒) ความตกลงจ� ำกัดการแข่งขันในแนวดิ่งอื่น ๆ (Other Vertical Agreement) มาตรา ๑๔ ของเอเอ็มซีไม่ได้บัญญัติถึงความตกลงจ� ำกัดการแข่งขันในแนวดิ่งอื่น ๆ อย่างชัดแจ้ง เช่น การตั้งผู้จัดจ� ำหน่ายสินค้าเพียงผู้เดียว (exclusive distributorship) การจ� ำกัดเขตทางภูมิศาสตร์และ การจ� ำกัดลูกค้า (territorial and customer restraints) การขายควบ (typing arrangement) ความ ตกลงค่าตอบแทนซึ่งกันและกัน (reciprocal dealing agreement) ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเชื่อว่าตกอยู่ ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา ๑๔(๓) ซึ่งกว้างมาก ใช้ครอบคลุมพฤติกรรมการจ� ำกัดการแข่งขันในแนว ดิ่งทุกพฤติกรรมได้ (catchall cause) หรืออาจตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา ๘ ของอนุบัญญัติชื่อ the Prohibition of Monopoly Agreement ซึ่งบัญญัติถึงพฤติกรรมการจ� ำกัดการแข่งขันในแนวดิ่งว่า จะถูกพิจารณาภายใต้หลักเหตุผล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=