สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปิยนาถ บุนนาค 17 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ อดุลยเดชทรงสร้างรูปแบบที่เป็นตัวอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืน ผสมผสานความต้องการของราษฎร ให้เข้ากับการประกอบอาชีพ โดยทรงน� ำพระราชด� ำริมาปฏิบัติจริง และสามารถพัฒนาให้เป็นทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นระบบการจัดการที่ดินและแหล่งน�้ ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ท� ำให้เกษตรกรสามารถด� ำเนินชีวิตได้ อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์จึงทรงเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการ สมัยใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนไทย เพราะแม้จะไม่มีพระราชอ� ำนาจดังเช่นพระมหากษัตริย์ในสมัยการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ทรงบ� ำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎร ทรงเป็น “นักรบ” ที่ไม่เคยท้อถอย ไม่เคยยอมแพ้ในการต่อสู้กับศัตรูคือ ความยากจนของประชาชนมาโดยตลอด พระราช- กรณียกิจของพระองค์ที่ทรงปฏิบัติมาตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ ครอบคลุมวิถีชีวิตของ ประชาชนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา การปกครอง กฎหมาย ศิลปวัฒนธรรม พร้อมกันนั้นยังทรงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของชนในชาติ ทรงมีบทบาทเกื้อหนุนการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ทรงวางพระองค์เป็นกลางในความขัดแย้งทางการเมือง ทรงเป็นที่พึ่งของประชาชน ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้ทุกครั้ง เพราะทรงเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของชาวไทย ในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์และไม่มีผู้ใดสามารถแก้ไขปัญหาได้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา- ภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงเป็น “เสาหลัก” ที่ค�้ ำจุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการ พัฒนาประเทศโดยทรงเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนามาโดยตลอด ทรงเป็นต้นแบบของการบริหาร จัดการที่ดีในทุกกิจกรรมที่ทรงปฏิบัติ ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีบทบาทเกื้อหนุน การบริหารราชการของรัฐบาลทุกคณะอย่างพอเหมาะพอดี แนวพระราชด� ำริหลายประการที่พระราชทาน ให้รัฐบาลและภาคราชการน� ำไปปฏิบัติ ล้วนมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนชาวไทยมีความสุข ได้รับบริการ จากรัฐอย่างทั่วถึง และมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรของชาติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานแนวคิดที่ส� ำคัญ ในการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของระบบราชการไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ คือการเน้นให้การบริหารราชการแผ่นดินและการ ปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่องานของรัฐ มีประสิทธิภาพเกิดความคุ้มค่าในเชิง ภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินจ� ำเป็น ประชาชนได้รับการอ� ำนวยความสะดวกและได้รับ การตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม�่ ำเสมออีกด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=